กินเจให้อิ่มบุญ
เหลือเวลาอีกที่ไม่กี่วันแล้ว ที่ชาวภูเก็ตเชื้อสายจีน จะได้ร่วมต้อนรับงานที่ยิ่งใหญ่ คือ “ประเพณีถือศีลกินผัก” หรือ กินเจ ที่สืบสานต่อกันมากว่า 100 ปี
โดยก่อนหน้าวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน 1 วัน บรรดาชาวภูเก็ตเชื้อสายจีนจะทำความสะอาดบ้านเรือน ล้างถ้วย ล้างชาม ให้สะอาด และเตรียม “ล้างท้อง” คำว่า ล้าง ในที่นี้ มิใช่การช่วยเหลือผู้ป่วยจากการกินยาพิษ ตามที่เข้าใจ แต่เป็นกินอาหารเจ ล่วงหน้าหนึ่งวัน เพื่อชะล้างเนื้อสัตว์ หรืออาหารคาวต่างๆ ที่ตกค้างอยู่ในร่างกายออกให้หมดสิ้น เมื่อถึงวันรุ่งขึ้นร่างกายจะได้สะอาด พร้อมถือศีลกินผักตามประเพณี
โดยอาหารที่ทำกินกันในช่วงเวลา 9 วัน 9 คืนนี้ ไม่ได้ยุ่งยาก หรือซับซ้อนมากนัก เป็นเพียงแค่ผัก หรือ เต้าหู้ ชนิดต่างๆ มาปรุงรวมกัน อาทิ ผัดผักต่างๆ เช่น ผัดผักบุ้ง ผัดเตาเหง (ถั่วงอก) ผัดน้ำเต้า (ฟักทอง) ผัดมัง ก๊วน (มันแกว) ถ้าพวกแกงจืด ก็เช่น แกงจืดเต็กกากี่ (ฟองเต้าหู้) แกงจืดขี้พร้า (ฟักเขียว) หรือถ้าเป็นเต้าหู้ หรือ ผลิตภัณฑ์พวกถั่ว และถั่วเหลือง ก็มีหลายรายการ เช่น ถั่วใต้ดินคั่ว ( ถั่วลิสง) เตากั้วทอด (เต้าหู้เหลือง) เตาหยู (เต้าหู้ยี้) ฯ และที่ขาดไม่ได้คือ อาจาด ซึ่งเป็นจานเด็ดของครัวเจ สมัยก่อนเลยทีเดียว
นอกจากทำกินเองที่บ้านแล้ว บางมื้อ ผู้คนจะเอาปิ่นโตไปรับกับข้าวที่อ๊าม (ศาลเจ้า) มากินที่บ้าน เรียกกันว่า “หิ้วข้าว” โดยแต่ละศาลเจ้าจะเตรียมอาหารต่างๆไว้คอยบริการ (สมัยก่อนสามารถไปหิ้วข้าวได้ตลอดวัน สมัยนี้บางศาลเจ้ามีกำหนดเป็นเวลา) ซึ่งการไปรับอาหารที่โรงครัวครั้งแรก ผู้ไปเอากับข้าวจะต้องไปเขียนชื่อ นามสกุล ที่อยู่ รวมถึงบอกจำนวนของคนที่บ้านซึ่งจะร่วมกินกับข้าวในปิ่นโต แล้วจึงบริจาคเงินตามศรัทธาให้ศาลเจ้า เรียกว่า “เก้าเอี๋ยน”
โดยเมนูเจที่ศาลเจ้าจัดเตรียมนั้น จะไม่ต่างจากที่ทำกินในบ้านเรือน เน้นผัก เต้าหู้ และไม่มีการดัดแปลงใดใด ทั้งนี้เป็นการกินเพื่อชำระจิตใจ และร่างกายให้สะอาดจริงๆ มีบางคนที่เคร่งกับประเพณีนี้มาก ก็จะกินกับข้าวอ๊ามทุกมื้อ
แต่สำหรับใครที่เบื่อหน่ายกับอาหารในบ้าน และในอ๊าม สมัยก่อนก็จะมีร้านขายอาหารเจ อยู่หน้าอ๊าม โดยเฉพาะอ๊ามใหญ่ๆ ตามแหล่งชุมชน เช่น อ๊ามบางเหนียว อ๊ามจุ้ยตุ่ย อ๊ามกะทู้ อาหารที่ขาย ก็มีไม่กี่ประเภท อาทิ ฉ่ายหมี่ ( หมี่เจ) ปอเปี๊ยะเจ เตากั้วทอด เจี้ยะโก้ย (ปาท่องโก๋) ขนมสี่ขา ขนมจี้โจ้ ของหวาน เช่น น้ำเต้าหู้ เม็ดบัวต้มน้ำตาลเป็นต้น
จนเมื่อครบ 9 วัน 9 คืน หลังจากทำพิธีส่งพระกิ้วอ๋องไต่เต่ และหยกอ๋องซ่งเต่ กลับสู่สวรรค์ ตามความเชื่อผู้ร่วมประเพณีแล้ว ทุกคนจะไม่รีบกินอาหารคาวทันที แต่จะรอให้ถึงรุ่งขึ้นของอีกวันหนึ่งก่อน จึงจะกินอาหารคาวหวานได้ตามปกติ
ข้ามเวลามาจนถึงปัจจุบัน ประเพณีถือศีลกินผัก ยังคงอยู่คู่เมืองนี้ พร้อมกับงานใหญ่ ที่จัดขึ้นทุกปี และอาหารเจ ที่หาทานได้ง่ายทุกมุมเมือง ไม่จำกัดเฉพาะหน้าอ๊ามเหมือนในสมัยก่อน รูปแบบของอาหารเจก็หลากหลายมากขึ้น นอกจากเมนูจากผัก เต้าหู้ แล้วก็ยังมีอย่างอื่นเข้ามาเพิ่มสีสัน โดยเฉพาะเนื้อเทียม ที่ปรุงแต่งเป็น หมู ปลา ไก่ ปลาหมึก กุ้ง ชนิดที่ว่า ถ้าไม่บอกแล้ว คงคิดว่าเป็นเนื้อชนิดนั้นจริงๆ เมนูจากเนื้อเทียมนี้ก็มีหลากหลาย แล้วแต่ไอเดียของผู้ปรุง เช่น ปลาเค็ม ผัดเครื่องแกง ผัดเนื้อ ไส้กรอก ผัดเครื่องใน ฯ คนกินก็อร่อย คนขาย ก็ยิ้มได้ แถมอินเทรนด์ ได้ชื่อว่า ร่วมประเพณีที่สำคัญของจังหวัด
การกินเจ แบบที่มีเนื้อเทียมซึ่งมีการจัดทำให้เหมือนเนื้อสัตว์จริงๆนั้นไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพียงแต่ตั้งข้อสังเกตว่า การกินเจในปัจจุบันนั้น ผู้ร่วมในประเพณีที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์นี้ ได้ย้อนคิดกันบ้างหรือไม่ว่า จุดประสงค์หลักของการกินเจ นอกจากให้ละเว้นจากการบริโภคเนื้อสัตว์ทั้งหลายแล้วนั้น ยังหมายรวมถึงการละเว้นเนื้อสัตว์ทางด้านจิตใจด้วย จึงเป็นไปได้ว่า การกินเจในยุคปัจจุบัน หลายฝ่ายได้หลงลืมจุดประสงค์ที่แท้จริงข้อนี้ไป และมองเห็นเพียงแค่ว่า เมื่อถึงประเพณีถือศีลกินผัก ก็คือ ช่วงเวลาแห่งความสนุกสนาน รื่นเริง และมีสีสัน สำหรับจังหวัดภูเก็ตเท่านั้น
ดังนั้น กินเจปีนี้ หันมากินอาหารที่ทำจากผัก เต้าหู้ หรือไปหิ้วข้าวที่อ๊าม กัน และร่วมปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลในธรรม เพื่อเข้าถึงแก่นแท้ของประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์นี้
เกร็ดน่ารู้
ในสมัยก่อนผู้ที่หิ้วปิ่นโตนำอาหารมาจากโรงครัวของศาลเจ้าก่อนจะรับประทานอาหารจะต้องจุดธูปไหว้พระในบ้านและจุดไม้หอมพร้อมกันแล้วเอาปิ่นโตหรือหม้อข้าวรมควันไม้หอมเสียก่อน เรียกว่า (โก้ยเช่งเหี้ยว) ทุกครั้งจึงนำอาหารมารับประทานได้
เรื่องอื่น ๆ
สวัสดีครับ/ค่ะ! ผม/ดิฉันเป็นหมอที่เชี่ยวชาญในด้านการแพทย์ครับ/ค่ะ ประสบการณ์ของผม/ดิฉันเกี่ยวข้องอย่างแน่นหนากับความตั้งใจในการช่วยเหลือคน และผม/ดิฉันได้ค้นพบทางที่จะใช้พรสวรรค์ทางภาษาของผม/ดิฉันในการทำเช่นนั้น ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของผม/ดิฉันได้เปิดโอกาสให้ผม/ดิฉันไม่เพียงแต่ทำงานกับผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังแบ่งปันความรู้และข้อมูลผ่านการเขียนบทความข่าวสาร
ผม/ดิฉันชื่อ Ananda Niran (อนันดา นิรันดร์) และการเดินทางในวงการแพทย์ของผม/ดิฉันเริ่มต้นมานานแล้ว ผม/ดิฉันได้รับการศึกษาที่มหิดลศาสตร์ และตั้งใจที่จะให้ความสุขและความเจริญสบายในสุขภาพกับผู้ป่วย ประสบการณ์การทำงานของผม/ดิฉันรวมถึงการปฏิบัติงานในหลากหลายสถานบริการทางการแพทย์ ที่นั่นผม/ดิฉันมีหน้าที่วินิจฉัย รักษา และดูแลผู้ป่วยที่มีโรคหลากหลาย
อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป ผม/ดิฉันเข้าใจว่าสิ่งสำคัญไม่ได้เพียงแค่การช่วยเหลือผู้ป่วยแต่เพิ่มเติมด้วยการกระจายข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับกลุ่มคนใหญ่ ในโลกที่มีข้อมูลทางการแพทย์มากมาย ผม/ดิฉันตัดสินใจที่จะเข้าร่วมมีส่วนร่วมโดยใช้ความรู้และทักษะทางภาษาของผม/ดิฉัน จึงเริ่มเขียนบทความข่าวสารเกี่ยวกับความก้าวหน้าล่าสุดในการแพทย์ โรคต่าง ๆ การป้องกัน และรูปแบบการดำเนินชีวิต
ความหลงไหลในการเขียนช่วยให้ผม/ดิฉันสามารถอธิบายคำศัพท์และความคิดทางการแพทย์ที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายและเข้าถึงได้สำหรับทุกคน ผม/ดิฉันพยายามให้ความสำคัญและรับผิดชอบต่อทุกบทความ เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีประโยชน์ ที่สามารถช่วยเหลือคนในการดูแลสุขภาพของตน
พลังประสิทธิ์ของผม/ดิฉันคือที่ทำให้ข้อมูลทางการแพทย์เข้าใจง่ายและเข้าถึงได้ นอกจากนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนใส่ใจกับความเจริญสุขของตนเอง บทความข่าวสารทุกเรื่องเป็นโอกาสที่จะแบ่งปันความรู้และช่วยเหลือคนที่กำลังมองหาข้อมูลทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้ นี่คือเสถียรภาพของผม/ดิฉัน และผม/ดิฉันภาคภูมิใจที่สามารถให้ความช่วยเหลือและแรงบันดาล
ใจในโลกของสายการแพทย์นี้ได้