บริเวณหมู่ที่ 4 บ้านแหลมตุ๊กแก เป็นถิ่นอาศัยของคนกลุ่มหนึ่งซึ่งใช้ชีวิตอยู่กับทะเลทั้งในแง่ถิ่นอาศัยและการประกอบอาชีพ คนส่วนใหญ่อาจไม่ค่อยมีโอกาสได้พบเห็นหรือสัมผัสวิถีชีวิตของพวกเขามากนัก Phuket Bulletin จึงขอพาทุกท่านมาพบกับบางส่วนของชีวิตประจำวันชาวอุรักลาโว้ยหรือชาวไทยใหม่
คนทะเลแห่งบ้านแหลมตุ๊กแก??
อุรักลาโว้ย หรือโอรังลาโอ๊ด (Orang Laut) มีความหมายว่า คนทะเลจากข้อสันนิฐานของนักวิชาการ กล่าวว่าเดิมชาวอุรักลาโว้ยอาศัยอยู่บริเวณเทือกเขาฆูนุงฌึไร ในแถบชายฝั่งทะเลในรัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) ยังชีพด้วยการท่องเรือตามหมู่เกาะและมีความสามารถในการดำน้ำจับสัตว์ทะเล
ปัจจุบันชาวอุรักลาโว้ยตั้งถิ่นฐานอยู่หลายแห่ง เช่น เกาะพีพี เกาะจำ และเกาะลันตาใหญ่ ในจ. กระบี่ หาดราไวย์ แหลมหลา รวมถึงบ้านแหลมตุ๊กแก เกาะสิเหร่ แห่งนี้ด้วย
คุณสุธน ประโมงกิจ ผู้ใหญ่บ้านของบ้านแหลมตุ๊กแก บอกกับเราว่าชาวอุรักลาโว้ยที่อยู่ตรงนี้มีหลายครอบครัวซึ่งแกรู้จักทั้งหมด คนในหมู่บ้านเองก็เช่นกัน คงไม่ใช่เรื่องน่าตกใจนักแม้ทุกวันนี้เราจะอยู่ในยุคที่ไม่ใคร่จะรู้จักกับเพื่อนบ้านก็ตาม ที่เป็นอย่างนี้เพราะทุกคนที่นี่นามสกุลเดียวกันหมด นั่นคือ ประโมงกิจ
นามสกุลประโมงกิจเป็น 1 ใน 5 นามสกุลที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า พระราชทานให้แก่ชาวเลทั้งหมด ได้แก่ หาญทะเล ประมงกิจ ทะเลลึก ช้างน้ำ และชาวน้ำ โดยคำว่าประโมงกิจนั้นเพี้ยนมาจากประมงกิจ จึงเป็นเหตุผลที่ชาวอุรักลาโว้ยบนเกาะสิเหร่มีนามสกุลเดียวกันทั้งหมด
ระหว่างการพูดคุย บางคำถามที่มีข้อมูลไม่ชัดเจน ผู้ใหญ่บ้านจะหันไปถามลูกบ้านที่อยู่ในละแวกนั้นด้วยภาษาที่เราไม่คุ้นหูนัก เมื่อสอบถามจึงได้รู้ว่าเป็นภาษายาวี
ภาษายาวีหรือภาษามลายูปัตตานีเป็นภาษาในกลุ่มออสโตรนีเซียน (ตระกูลภาษาที่ผู้พูดอยู่ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ มหาสมุทรแปซิฟิก) ภาษานี้ใกล้เคียงมากกับภาษาถิ่นในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย นอกจากภาษาไทยและสำเนียงใต้แล้ว ภาษายาวีจึงเป็นอีกภาษาที่คนที่นี่ใช้
ผู้ใหญ่พาเราเดินตั้งแต่ต้นถนนเพื่อชมชีวิตประจำวันของชาวอุรักลาโว้ย สิ่งที่เห็นคือผู้หญิงชาวอุรักลาโว้ยจะจับกลุ่มกันใต้ถุนบ้านนั่งแกะหอย ผู้ชายนั้นมีจับกลุ่มนั่งกันอยู่บ้างแต่ไม่ค่อยจะเห็นมากนัก
?ผู้ชายส่วนใหญ่จะออกทะเลไปหาสัตว์น้ำทีละเป็นสัปดาห์ แล้วก็ครั้งละ 5-6 ลำ เผื่อถ้าลำไหนเสียจะได้ช่วยกัน ส่วนเรื่องอาหารก็เตรียมของสดไป ทำกินกันบนเรือนั่นแหละ ส่วนผู้หญิงจะออกหาหอยทุกวัน? ผู้ใหญ่สุธนบอก
เรื่องของหอย
?ผู้ชายหาหอยหน้ายักษ์ ส่วนผู้หญิงจะหาหอยติบ? พี่ชายชาวอุรักลาโว้ยคนหนึ่งบอกเราไว้
ด้วยความตั้งใจที่จะมาสัมผัสส่วนหนึ่งในวิถีของพวกเขา แต่ด้วยไม่สามารถออกเรือไปหลาย ๆ วันได้ เราจึงต้องละความสนใจหอยหน้ายักษ์ไว้ก่อนแล้วหันมาพิจารณาหอยติบแทน
หอยติบเป็นหอยนางรมพันธุ์เล็ก มีสองฝาที่ขนาดไม่เท่ากัน หอยติบจะใช้ฝาเชื่อมติดกับที่ ๆ เกาะตัวอยู่ เปลือกมีบานพับหนา ไม่มีฟัน ไม่มีเท้า เนื้อหอยสีขาวนวล กินสิ่งมีชีวิตจำพวกแพลงตอนและพวกอนุภาคของอินทรีย์สารที่สลายจากการเน่าเปื่อยของพืชและสัตว์ที่ล่องลอยอยู่ในน้ำ สามารถพบหอยติบได้ตามโขดหิน เสาปูน รากโกงกาง หรือวัตถุทุกชนิดที่น้ำท่วมถึง ตามหาดที่มีทรายปนเลน จังหวัดที่พบมาก คือ ภูเก็ต พังงา เป็นต้น
เมนูเด็ดที่คนส่วนใหญ่นิยมนำไปประกอบอาหารมักเป็นพวกอาหารผัด ทอด อย่างออส่วน โอต้าว หรือชุบแป้งทอด ?หอยติบมันจะอยู่ตามโขดหิน ต้องรอเวลาที่น้ำลงก่อนมันถึงจะโผล่ให้เก็บได้ง่ายกว่า?
เวลาในการออกเรือเก็บหอยของแต่ละวันจึงไม่เหมือนกัน เรียกได้ว่าอาศัยสัญญาณเริ่มงานจากธรรมชาติ
เมื่อถึงฝั่ง บรรดานักเก็บหอยมืออาชีพต่างแยกย้ายกันไปเดินหาคนละจุดเพื่อลงมือเก็บหอยติบที่เกาะอยู่เต็มตามโขดและแง่งหิน โดยการใช้อุปกรณ์ที่เตรียมมาต่อยให้หอยหลุดออกมาอุปกรณ์ที่ใช้เป็นไม้ขนาดประมาณ 1 ฟุต ส่วนปลายมีเหล็กแหลมยื่นออกมา มีทั้งแบบเหล็กแหลมด้านเดียวและสองด้าน ลักษณะคล้ายอีเตอร์ แบบด้านเดียวจะเรียกว่าจาโต๊ะ ส่วนแบบสองด้านจะเรียกว่าฮาม่า เป็นคำในภาษายาวี ทั้งสองแบบจะใช้ในการต่อยหินไม่ต่างกัน
คำถามคือแล้วจะเลือกหอยตัวไหนและอย่างไร
?เลือกอันที่มีตาขาว ๆ ใหญ่ ๆ อันเล็ก ๆ ไม่ต้องเอา ส่วนที่เป็นตาสีดำ ๆ มันไม่มีเนื้อ? ชาวอุรักลาโว้ยคนหนึ่งบอกเราขณะที่ชี้ให้ดูตามโขดหินที่มีหอยติบเกาะอยู่อย่างกระจัดกระจาย
หอยติบที่ต่อยออกมาสภาพดี เปลือกหอยจะต้องไม่แตกหรือหักจนเนื้อด้านไหนโผล่ออกมา เพราะว่าหลังจากหาเสร็จในวันนี้หอยจะถูกเก็บเอาไว้เพื่อแกะเปลือกในวันรุ่งขึ้น หอยที่เปลือกแตกจนเนื้อโผล่จะเน่าไปเสียก่อน เนื้อหอยติบสด ๆ จะรสหวานและคาว ชาวอุรักลาโว้ยบอกว่าถ้ามีกระเทียมกับมะนาวนี่อร่อยเลย
เวลาผ่านไปเกือบชั่วโมงทำให้เห็นว่าน้ำทะเลลดลงอีกเยอะ โขดหินและเลนอีกหลายส่วนโผล่พ้นน้ำสามารถเดินเก็บหอยได้ง่าย มืออาชีพแต่ละคนต่างแยกกันเก็บหอยได้หลายถัง พอหนึ่งถังเต็มก็จะนำไปใส่ในกระสอบที่เตรียมมาแล้วค่อยเก็บใหม่
หอยติบเต็มถัง เวลาขายจะต้องแกะเปลือกออกเอาเฉพาะเนื้อหอยเท่านั้น ทั้งถังจริง ๆ แล้วจะได้เนื้อประมาณครึ่ง-หนึ่งกิโลฯ เท่านั้น ปริมาณที่ได้ในแต่ละวันก็ไม่แน่นอน บางวันเก็บได้เยอะ บางวันก็เก็บได้น้อย
?ตอนน้ำขึ้นจะมีนกชนิดหนึ่งร้อง ได้ยินเมื่อไหร่ก็จะรู้ว่าน้ำจะขึ้นแล้ว? ก็ไม่รู้ว่ามันเป็นนกอะไร แต่เป็นสัญญาณที่ชาวบ้านจะรู้กัน ใช่แต่ว่าเริ่มงานตามสัญญาณธรรมชาติ เสียงกริ่งเลิกงานก็เช่นกัน?
วันที่ต้องหยุดแน่นอนคือวันน้ำขึ้นสูงเพราะมันจะเก็บหอยไม่ได้ กับวันที่มีอาการเจ็บป่วยจริง ๆ ส่วนอาการปวดหลัง ปวดเอว ที่เป็นอยู่ปกตินั้นอาศัยทนเอา หากไม่ทำก็จะลำบากเรื่องค่าใช้จ่าย อย่างเมื่อออกเรือไปเก็บหอยครั้งหนึ่ง เสียค่าเรือหางยาวคนละ 40 บาท หอยติบหนึ่งกิโลฯ ขายได้เพียง 60 บาท ฉะนั้นหากออกเรือไปต้องพยายามหาให้ได้มากกว่าหนึ่งกิโลฯ เพื่อให้พอค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในยุคที่อะไร ๆ ก็แพงขึ้น
เมื่อถามถึงวิธีหาหอยที่สะดวกกว่านี้ ชาวอุรักลาโว้ยบอกว่า ?มีบางที่เขาใช้วิธีเผาหินเอาแล้วค่อยมานั่งแกะทีเดียว แบบนั้นมันก็จะได้เยอะแต่หอยตัวเล็กตัวน้อยจะตายหมด ใช้วีธีเก็บเป็นตัว ๆ แบบนี้ดีกว่า เลือกเอาเฉพาะตัวที่มันโต ๆ ตัวเล็ก ๆ ก็ปล่อยให้มันโต มันจะได้มีให้เก็บต่อไปเรื่อย ๆ ?
?เวลาเก็บก็วนไปหลาย ๆ แห่ง อย่างที่เกาะกุ้ย เกาะมะพร้าว อ่าวขาม ฯลฯ วันนี้ไปที่หนึ่ง พรุ่งนี้ก็จะไปอีกที่ วนไปเรื่อย ๆ เว้นให้หอยติบได้โตบ้าง ไม่อย่างนั้นถ้ามันหมดก็ลำบาก?
หลังจากเก็บหอยเสร็จ แต่ละคนก็จะมาช่วยกันแกะหอย โดยใช้มีดเล่มเล็ก ๆ แซะเปลือกออกเอาแต่เนื้อ ของคนหนึ่งเสร็จก็ไปทำของอีกคนต่อ วนช่วยกันจนครบ ซึ่งคงไม่ต่างอะไรจากการลงแขกเกี่ยวข้าวนั่นแหละเดี๋ยวนี้คนเก็บหอยติบน้อยลง เด็กรุ่นใหม่โตขึ้นก็ไปทำงานอย่างอื่น คนที่เก็บอยู่ทุกวันนี้เป็นกลุ่มคนรุ่นเก่าที่มีอยู่ไม่กี่สิบคน
หลังจากนี้ไปอาจจะไม่มีคนเก็บหอยติบแล้วก็เป็นได้ ไม่แน่ใจนักว่าเรื่องที่ชาวอุรักลาโว้ยบอกจะกลายเป็นจริงหรือไม่ แต่คงจะดีกว่าไม่ใช่หรือหากว่าจะสามารถรักษาวิถีชีวิตในการเก็บหอยไปพร้อม ๆ กับให้ชาวอุรักลาโว้ยที่เป็นผู้หามีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพไปด้วย
หากนึกไม่ออกว่าจะช่วยอะไรได้บ้าง แค่เวลาที่กินหอยติบเมื่อไหร่ ช่วยนึกสักนิดว่ากว่าจะมาอร่อยอยู่ในปากเราได้ คนหาต้องลำบากขนาดไหนถึงตอนนั้นเชื่อว่าต้องมีแผนการดี ๆ ออกมาแน่นอน
เรื่องอื่น ๆ
สวัสดีครับ/ค่ะ! ผม/ดิฉันเป็นหมอที่เชี่ยวชาญในด้านการแพทย์ครับ/ค่ะ ประสบการณ์ของผม/ดิฉันเกี่ยวข้องอย่างแน่นหนากับความตั้งใจในการช่วยเหลือคน และผม/ดิฉันได้ค้นพบทางที่จะใช้พรสวรรค์ทางภาษาของผม/ดิฉันในการทำเช่นนั้น ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของผม/ดิฉันได้เปิดโอกาสให้ผม/ดิฉันไม่เพียงแต่ทำงานกับผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังแบ่งปันความรู้และข้อมูลผ่านการเขียนบทความข่าวสาร
ผม/ดิฉันชื่อ Ananda Niran (อนันดา นิรันดร์) และการเดินทางในวงการแพทย์ของผม/ดิฉันเริ่มต้นมานานแล้ว ผม/ดิฉันได้รับการศึกษาที่มหิดลศาสตร์ และตั้งใจที่จะให้ความสุขและความเจริญสบายในสุขภาพกับผู้ป่วย ประสบการณ์การทำงานของผม/ดิฉันรวมถึงการปฏิบัติงานในหลากหลายสถานบริการทางการแพทย์ ที่นั่นผม/ดิฉันมีหน้าที่วินิจฉัย รักษา และดูแลผู้ป่วยที่มีโรคหลากหลาย
อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป ผม/ดิฉันเข้าใจว่าสิ่งสำคัญไม่ได้เพียงแค่การช่วยเหลือผู้ป่วยแต่เพิ่มเติมด้วยการกระจายข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับกลุ่มคนใหญ่ ในโลกที่มีข้อมูลทางการแพทย์มากมาย ผม/ดิฉันตัดสินใจที่จะเข้าร่วมมีส่วนร่วมโดยใช้ความรู้และทักษะทางภาษาของผม/ดิฉัน จึงเริ่มเขียนบทความข่าวสารเกี่ยวกับความก้าวหน้าล่าสุดในการแพทย์ โรคต่าง ๆ การป้องกัน และรูปแบบการดำเนินชีวิต
ความหลงไหลในการเขียนช่วยให้ผม/ดิฉันสามารถอธิบายคำศัพท์และความคิดทางการแพทย์ที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายและเข้าถึงได้สำหรับทุกคน ผม/ดิฉันพยายามให้ความสำคัญและรับผิดชอบต่อทุกบทความ เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีประโยชน์ ที่สามารถช่วยเหลือคนในการดูแลสุขภาพของตน
พลังประสิทธิ์ของผม/ดิฉันคือที่ทำให้ข้อมูลทางการแพทย์เข้าใจง่ายและเข้าถึงได้ นอกจากนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนใส่ใจกับความเจริญสุขของตนเอง บทความข่าวสารทุกเรื่องเป็นโอกาสที่จะแบ่งปันความรู้และช่วยเหลือคนที่กำลังมองหาข้อมูลทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้ นี่คือเสถียรภาพของผม/ดิฉัน และผม/ดิฉันภาคภูมิใจที่สามารถให้ความช่วยเหลือและแรงบันดาล
ใจในโลกของสายการแพทย์นี้ได้