นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย เผยกาฬโรคปอดที่ระบาดในจีนรุนแรงกว่าไข้หวัดใหญ่ 2009 สูงถึง 5 เท่าตัว ผู้ติดเชื้อเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 50-60% เชื่อไม่ส่งผลลุกลามมาถึงไทย
ศาสตราจารย์นายแพทย์อมร ลีลารัศมี นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยยืนยัยว่ากาฬโรคปอดเป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรง ที่ติดกันทางระบบทางเดินหายใจ มีหนูเป็นพาหะ ซึ่งที่ผ่านมาการระบาดของกาฬโรคปกติจะติดเชื้อทางกระแสเลือด และเข้าสู่ทางบาดแผลหรือต่อมน้ำเหลือง แต่กาฬโรคปอดไม่จำเป็นต้องมีบาดแผล ติดต่อกันทางระบบทางเดินหายใจและเข้าสู่ปอดทันที ผู้ที่ติดเชื้อโรคนี้จะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ภายใน 3-5 วัน ที่สำคัญโรคนี้รุนแรงกว่าไข้หวัดใหญ่ 2009 ถึง 5 เท่า มีโอกาสเสียชีวิตได้สูงถึง 50-60 เปอร์เซ็นต์ แต่การแพร่เชื้อจะเป็นไปได้ยากกว่า เพราะผู้ป่วยเป็นแล้วจะเดินไม่ไหว เหนื่อยหอบ และไม่สามารถช่วยตนเองได้ นอกจากผู้ป่วยคนนั้นไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ และไปอยู่ในกลุ่มชุมชน หรือบนเครื่องบิน ก็สามารถติดเชื้อได้ทั้งหมด
ศาสตรจารย์นายแพทย์อมร ยังระบุว่า โรคนี้ข้อแตกต่างจากไข้หวัดดูไม่ยาก ซึ่งผู้ติดเชื้อจะตัวร้อน มีไอ และหอบเหนื่อย เดินไม่ไหว อาการทางระบบทางเดินหายใจจะรุนแรงและเข้าสู่ปอดได้ทันที ที่สำคัญผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้ คือ โรคถุงลมโป่งพอง ปอด หอบหืด หรือโรคหัวใจ รวมไปถึงระบบทางเดินหายใจทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับปอด หากเป็นแล้วโอกาสเสียชีวิตแค่ภายใน 24 ชั่วโมงเท่านั้น แต่เชื่อว่า การระบาดที่มณฑลวิงไห่ ประเทศจีน มีผู้เสียชีวิตแล้วหลายคน และที่สำคัญมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ล่าสุดยังกักตัวอีก 10,000 คน ที่มีอาการปอดอักเสบ ว่าจะไม่แพร่เชื้อเข้ามาในไทย เนื่องจากเป็นแล้วไม่สามารถช่วยตนเองได้เลย ต้องอยู่บ้าน และรับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างเดียว ย้ำคนไทยอย่าเพิ่งตื่นตระหนกกับกาฬโรคปอด ซึ่งกรมควบคุมโรคจะต้องประเมินสถานการณ์เป็นรายวันในการแพร่ระบาดของจีนว่ามีโอกาสจะคุกคามเข้ามาสู่ไทยหรือไม่ และขณะนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าจะห้ามคนไทยไม่ให้เดินทางเข้าสู่ประเทศจีน
รู้จักโรคกาฬโรค (Plague)
กาฬโรค เป็นโรคติดต่อที่มีความรุนแรง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ตามปกติเป็นโรคที่เกิดอยู่ในสัตว์ประเภทฟันแทะ (Rodent) ได้แก่ หนู กระรอก กระต่าย เชื้อติดต่อมาสู่คนโดยถูกตัวหมัดที่อาศัยกินเลือดสัตว์ดังกล่าวมากัดคน เชื้อเข้าสู่ทางผิวหนังบริเวณที่ถูกกัด ผ่านทางท่อน้ำเหลืองไปสู่ต่อมน้ำเหลือง เกิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เรียกการป่วยลักษณะนี้ว่า กาฬโรคชนิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (Bubonic plague) เชื้ออาจลุกลามต่อจากต่อมน้ำเหลืองเข้าสู่กระแสเลือด กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ เรียกการป่วยระยะนี้ว่า Sipticemic plague ผู้ป่วยบางรายจะมีปอดอักเสบ เรียกว่า กาฬโรคชนิดปอดอักเสบ Zpneumonic plague) ซึ่งสามารถแพร่เชื้อได้ทางการหายใจ โดยมีเชื้ออยู่ในน้ำมูกหรือเสมหะที่กระจายเป็นฝอยเมื่อไอหรือจาม
เชื้อที่เป็นสาเหตุ
เชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Yersinia pestis ลักษณะของเชื้อเป็น bacillus ติดสี gram-negative ตรวจหาเชื้อได้จากต่อมน้ำเหลือง เสมหะ และน้ำไขสันหลัง นอกจากนี้ยังตรวจเลือดหาการติดเชื้อ โดยวิธี antigen-capture Elisa และ PHA
สัตว์นำโรคได้แก่ พวกสัตว์ประเภทฟันแทะที่อยู่ตามธรรมชาติโดยเฉพาะพวกหนู ซึ่งเป็นแหล่งเชื้อโรคที่สำคัญ สำหรับสัตว์อื่นที่อาจเป็นโรคนี้และติดต่อมาถึงคน ได้แก่ สัตว์พวกกระต่าย กระต่ายป่า และแมว เป็นต้น
การติดต่อโรค
ระยะฟักตัวของโรค
ระยะฟักตัวของกาฬโรคโดยทั่วไปอยุ่ระหว่าง 2-6 วัน ระยะฟักตัวสำหรับ primaryplague pneumonia อยู่ระหว่าง 1-6 วัน แต่ปกติมักจะสั้น
ระยะเวลาการติดต่อ
เชื้อที่ติดต่อคงอยู่ในตัวหมัดได้เป็นเดือน ขึ้นอยู่กับสภาพของความชื้นและอุณหภูมิ
การป้องกันและควบคุม
1.สำรวจหนูและหมัดหนู ควบคุมและกำจัดหนูในโรงเรือนและเรือสินค้า กำจัดหมัดหนูโดยใช้ยาฆ่าแมลง
2.ให้สุขศึกษาในประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ให้รู้วิธีป้องกันโรคและเข้ารับการตรวจรักษาโดยเร็ว ถ้ามีอาการส่งสัยว่าป่วยเป็นกาฬโรค
3. มีมาตรการควบคุมระหว่างประเทศ
4. ฉีดวัคซีนในกลุ่มเสี่ยง (ขณะนี้วัคซีนไม่มีใช้ทั่วไป)
การรักษา
ผู้ป่วยกาฬโรคต้องรับการรักษาในห้องแยก (Isolation) การฆ่าเชื้อได้ผลดีโดย ใช้ยาปฏิชีวนะ Tetracycline ,Streptomycin,Chloramphenicol,kanamycin และ Sulfonamides ซึ่งควรให้ผู้ป่วย ได้รับยาปฏิชีวนะโดยเร็ว ที่สุดหลังการวินิจฉัยเบื้องต้น โดยไม่ควรรอผลการตรวจยืนยัน ทางห้องปฏิบัติการ ยากลุ่ม Penicillin มักไม่ได้ผลดี
นอกจากนี้ให้การรักษาตามอาการ (Symptomatic) และการรักษาประคับประคอง (Supportive) และการรักษาโรคแทรกซ้อนตามความจำเป็นบุคลากรผู้ทำการรักษาต้องระมัดระวังอย่างเคร่งครัดด้านการป้องกันติดเชื้อ (เช่น สวมถุงมือ สวมหน้ากาก) และการทำลายเชื้อจากเลือด น้ำเหลือง และหนองของผู้ป่วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสิริโรจน์
สวัสดีครับ/ค่ะ! ผม/ดิฉันเป็นหมอที่เชี่ยวชาญในด้านการแพทย์ครับ/ค่ะ ประสบการณ์ของผม/ดิฉันเกี่ยวข้องอย่างแน่นหนากับความตั้งใจในการช่วยเหลือคน และผม/ดิฉันได้ค้นพบทางที่จะใช้พรสวรรค์ทางภาษาของผม/ดิฉันในการทำเช่นนั้น ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของผม/ดิฉันได้เปิดโอกาสให้ผม/ดิฉันไม่เพียงแต่ทำงานกับผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังแบ่งปันความรู้และข้อมูลผ่านการเขียนบทความข่าวสาร
ผม/ดิฉันชื่อ Ananda Niran (อนันดา นิรันดร์) และการเดินทางในวงการแพทย์ของผม/ดิฉันเริ่มต้นมานานแล้ว ผม/ดิฉันได้รับการศึกษาที่มหิดลศาสตร์ และตั้งใจที่จะให้ความสุขและความเจริญสบายในสุขภาพกับผู้ป่วย ประสบการณ์การทำงานของผม/ดิฉันรวมถึงการปฏิบัติงานในหลากหลายสถานบริการทางการแพทย์ ที่นั่นผม/ดิฉันมีหน้าที่วินิจฉัย รักษา และดูแลผู้ป่วยที่มีโรคหลากหลาย
อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป ผม/ดิฉันเข้าใจว่าสิ่งสำคัญไม่ได้เพียงแค่การช่วยเหลือผู้ป่วยแต่เพิ่มเติมด้วยการกระจายข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับกลุ่มคนใหญ่ ในโลกที่มีข้อมูลทางการแพทย์มากมาย ผม/ดิฉันตัดสินใจที่จะเข้าร่วมมีส่วนร่วมโดยใช้ความรู้และทักษะทางภาษาของผม/ดิฉัน จึงเริ่มเขียนบทความข่าวสารเกี่ยวกับความก้าวหน้าล่าสุดในการแพทย์ โรคต่าง ๆ การป้องกัน และรูปแบบการดำเนินชีวิต
ความหลงไหลในการเขียนช่วยให้ผม/ดิฉันสามารถอธิบายคำศัพท์และความคิดทางการแพทย์ที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายและเข้าถึงได้สำหรับทุกคน ผม/ดิฉันพยายามให้ความสำคัญและรับผิดชอบต่อทุกบทความ เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีประโยชน์ ที่สามารถช่วยเหลือคนในการดูแลสุขภาพของตน
พลังประสิทธิ์ของผม/ดิฉันคือที่ทำให้ข้อมูลทางการแพทย์เข้าใจง่ายและเข้าถึงได้ นอกจากนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนใส่ใจกับความเจริญสุขของตนเอง บทความข่าวสารทุกเรื่องเป็นโอกาสที่จะแบ่งปันความรู้และช่วยเหลือคนที่กำลังมองหาข้อมูลทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้ นี่คือเสถียรภาพของผม/ดิฉัน และผม/ดิฉันภาคภูมิใจที่สามารถให้ความช่วยเหลือและแรงบันดาล
ใจในโลกของสายการแพทย์นี้ได้