“พระผุด” ตำนานอัศจรรย์ที่วัดพระทอง
เกาะภูเก็ต…
…ในอีกด้านหนึ่ง คือแผ่นดินระบือนาม ที่ฝากแฝงไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์อันเร้นลับ อีกมากมายนานัปการ
บางอย่างพิสูจน์ทราบได้ อย่างเป็นรูปธรรม
หากแต่บางอย่าง ก็ยังเป็นเรื่องที่น่าพิศวง และน่ากังขามาจนตราบกระทั่งทุกวันนี้…
ดังเช่นตำนาน เรื่องราวเล่าขานของ “พระผุด” ตำนานนี้
เรื่องนี้สำหรับลูกๆหลานๆชาวภูเก็ตเองแล้ว อาจเป็นเรื่องแห่งความคุ้นชิน ที่ถ่ายทอดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน
แต่สำหรับคนในจังหวัดอื่นแล้ว ตำนานอันศักดิ์สิทธิ์เรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องสามัญธรรมดาอย่างแน่นอน …ภาพของพระพุทธรูปองค์ขนาดใหญ่ ที่ผุดขึ้นมาจากพื้นดิน ณ วัดพระทอง ในอำเภอถลาง วัดเก่าเเก่ประจำจังหวัดภูเก็ต ถือเป็นอันซีนไทยแลนด์อีกอย่างหนึ่งของประเทศไทย
ซึ่งมาพร้อมกับเรื่องเล่าขาน เเละประวัติความเป็นมาอันน่าสนใจเกี่ยวกับความมหัศจรรย์ขององค์พระที่โผล่จากพื้นดิน
เล่ากันมาว่าเมื่อแรกที่พบ “หลวงพ่อพระผุด” ณ เวลานั้นได้เกิดพายุร้าย มีฝนตกมากจนน้ำไหลท่วมทุ่งนาเสียหาย พัดพาต้นไม้โค่นล้ม หักพังระเนระนาด พอฝนหยุดตกก็ได้มีเด็กชายลูกชาวนาคนหนึ่งจูงควายไปเลี้ยงกลางทุ่ง แต่หากิ่งไม้ไม่เจอ เพราะต้องการหาที่ผูกเชือกสำหรับเลี้ยงควาย กิ่งไม้เล็กๆ ที่เคยผูก เป็นประจำ ก็ถูกกระแสน้ำพัดพาไปหมด
สักพักเขาเห็นสิ่งแปลกประหลาดสิ่งหนึ่ง…มีโคลนตมพอกอยู่ มีลักษณะเหมือนตอไม้ขนาดใหญ่…ผุดขึ้นมาเลยนำเชือกคล้องควายไปผูกไว้แล้วก็กลับมาบ้าน
พอเด็กถึงบ้าน เด็กชายคนนั้นก็เกิดอาการเป็นลมล้มชัก เสียชีวิตลงทันที ในตอนเช้าวันนั้นเอง พ่อแม่ก็จัดการกับศพเด็กแล้วออกไปดูควายที่ผูกไว้ พอไปถึงที่ที่เด็กผูกควายไว้ สิ่งที่ปราฏแก่สายตาก็คือ เห็นควายนอนตายอยู่เป็นที่อัศจรรย์ และยิ่งเมื่อเดินไปดูใกล้ๆ ก็เห็นเป็นวัตถุอย่างหนึ่ง พวกเขาเกิดความรู้สึกกลัวรีบตัดเชือกผูกควายออกแล้วช่วยกันนำควายไปฝัง ตกดึกคืนนั้น…พ่อของเด็กชายที่ตายก็ฝัน ว่ามีคนมาบอกว่า ที่เด็กและควายต้องตายนั้นเป็นเพราะเด็กได้นำเชือกควายไปผูกไว้กับเกศพระพุทธรูป พอตกใจตื่นรุ่งเช้าก็ชวน เพื่อนบ้านให้ไปยังที่ริมคลองที่เด็กนำควายไปผูกไว้ เมื่อเห็นวัตถุประหลาดนั้น ต่างคนต่างก็เอาน้ำมาล้างขัดสีเอาโคลนตมที่ติดอยู่ออกจนหมด จนกระทั่งสามารถ เห็นเป็นลักษณะเหมือนเกศพระพุทธรูปเหลืองอร่ามเป็นทองคำ ชาวบ้านจึงแตกตื่นพากันมา การบไหว้บูชาสักการะกันเป็นจำนวนมาก และยังชักชวนกันไปบอกให้เจ้าเมืองทรงทราบ
เจ้าเมืองถลางสมัยนั้นอยู่ที่บ้านดอน ระยะทางจากสถานที่พบพระผุดไปยังบ้านดอนที่เจ้าเมืองประทับห่างกันประมาณ 3 กิโลเมตร
เมื่อเจ้าเมืองทรงทราบ…ก็รับสั่งให้ทำการขุดมาประดิษฐานบนดินแต่ขุดอย่างไรก็ไม่สามารถขุดได้เพราะมีเหตุมัศจรรย์เกิดขึ้นราวกับปาฏิหาริย์
ด้วยปรากฏว่ามีตัวต่อตัวแตนจำนวนมาก นับพันนับหมื่นตัว บินขึ้นมาจากใต้พื้นดิน อาละวาดไล่ต่อยผู้คนที่ขุด และยังต่อยแต่เฉพาะคนที่ขุดเท่านั้น
ส่วนพวกที่ไม่ได้ขุด เพียงแต่เอาดอกไม้ธูปเทียนไปไหว้ ลูบคลำเกศพระผุด ตัวต่อแตนก็จะไม่ทำอันตรายเลย เป็นที่อัศจรรย์ใจแก่ผู้พบเห็นมากชาวบ้านเมื่อขุดไม่ได้ก็พากันไปเรียนเจ้าเมืองให้ทรงทราบ บอกว่าบางคนที่ขุดถูกแตน ต่อ ต่อยเป็นพิษไข้ถึงแก่ความตาย
ต่อมาได้มีพระธุดงค์รูปหนึ่งเดินธุดงค์มาจากเมืองสุโขทัยมาปักกลดในบริเวณดังกล่าว
ท่านได้เห็นหลวงพ่อพระผุด เป็นพระพุทธรูปโผล่เพียงพระศอขึ้นมาเป็นทองคำ ท่านเกรงว่าหากพวกโจรเห็นแล้วจะตัดไปขายเสีย
ท่านจึงคิดว่าควรจะสร้างวัดที่นี่ เพื่อเป็นการรักษาพระพุทธรูปองค์นั้นเอาไว้ ให้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาวถลางสืบต่อไป
วัดพระทองแห่งนี้จึงถูกสร้างขึ้นในสมัยดังกล่าวโดยมี “หลวงพ่อสิงห์” เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดนี้ ท่านได้ชักชวนชาวบ้านให้ช่วยกันสร้างกุฏิ วิหาร และสร้างอุโบสถ
โดยมีหลวงพ่อพระผุดเป็นประธานในพระอุโบสถแล้วก่อสวมให้สูงขึ้นเพื่อสะดวกแก่กิจกรรมของสงฆ์ การก่อสวมสมัยนั้นก่อเพียงแต่พระพักตร์เท่านั้น วัดนี้เมื่อสร้างเสร็จชาวบ้านเรียกว่าวัดนาใน วัดพระผุด หรือวัดพระหล่อคอ
เมื่อสร้างวัดแห่งนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระธุดงด์รูปนั้นได้ผูกปริศนาลายแทงไว้ดังนี้
“ยัก 3 ยัก 4 หาบผี มาเผา ผีไม่ทันเน่าหอมฟุ้งตลบ ผู้ใดคิดลบ ให้เอาที่กบปากแดง” ปริศนานี้เจ้าอาวาสต้องแก้ให้ได้ ถ้าแก้ไม่ได้ จะอยู่วัดได้ไม่นาน แต่ไม่มีใครแก้ได้ในที่สุดวัดแห่งนี้ก็ร้างลง จนเลื่องลือกันว่า “วัดพระผุดกินสมภาร”
อีกตำนานหนึ่ง บันทึกไว้ว่า…พม่ายกทัพมาตีเมืองถลาง เมื่อปี พ.ศ. 2352 ได้พยายามขุดดินลงไปเพื่อหวังจะเอาพระผุดกลับไปพม่า แต่ขุดลงไปเจอมด ตัวต่อ แตน ขบกัด เอาไฟเผาดินร้อนขุดไม่ได้ พอดีทหารไทยยกทัพมาช่วย พม่าจึงหนีไป
เวลาผ่านไปอีกเนิ่นนานจนสิ่งก่อสร้างในวัดผุพังรกร้างเหลือแต่พระผุดที่พอกปูนไว้ เมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๐ พระครูจิตถารสมณวัตร์ (หลวงพ่อฝรั่ง) แห่งวัดพระนางสร้าง ท่านสามารถแก้ปริศนาได้ จึงบูรณะวัดพระผุดขึ้นมา โดยได้เป็นเจ้าอาวาส จำพรรษาอยู่ถึง 61 พรรษา จนมรณภาพ เมื่อ พ.ศ. 2501
จนมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช พระองค์ท่านได้เสด็จประพาสจังหวัด ภูเก็ตและได้เสด็จมาทอดพระเนตรพระผุดองค์นี้ พระองค์ทรงมีพระราชวิจารณ์ไว้ว่า “การก่อพระพุทธรูปสวมพระผุดนี้ก่อด้วยอิฐถือปูนมีแต่เศียรกับพระองค์เพียงเท่าทรวงเพื่อให้ดูเหมือนผุดขึ้นมาจากพื้นดิน ฝีไม้ลายมือทำก็กระนั้นแหละ แต่ต้องชมว่าเขากล้า มีคนน้อยคนที่จะกล้าทำพระครึ่งองค์เช่นน ี้เพราะฉะนั้นก็จะต้องยอมรับว่าเป็นของควรดูอย่างหนึ่ง” ต่อจากนั้นรัชกาลที่ 6 ก็ได้พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า “วัดพระทอง” หากแต่อีกความเชื่อหนึ่งของพี่น้องชาวจีน…เชื่อว่าพระผุดถูกอันเชิญมาจากเมืองจีนเรียกว่า “พู่ฮุก” เล่าว่าธิเบตไปรุกรานจีนในเมืองเซี่ยงไฮ้ มีพระพุทธรูปทองคำ ชื่อ กิ้มมิ่นจ้อ ชาวธิเบตนำลงเรือมา แต่ถูกมรสุมจนเกยตื้น พระพุทธรูปองค์นั้นจมลงจนมีผู้คนมาพบ
ในปัจจุบันท่าน เป็นพระประธานที่กล่าวขานกันว่า ใครทุกข์โศกไปกราบไหว้ก็สัมฤทธิ์ผลดลบันดาลให้ตามที่ปรารถนา นอกจากพระผุด แล้ว ที่วัดแห่งนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ ที่ทางวัดจัดสร้างไว้ โดยรวบรวม วัตถุสิ่งของที่มีค่าทางประวัติศาสตร์ไว้มากมาย บอกถึงวิถีชีวิตของชาวภูเก็ตสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี
ที่มา : นิตยสารภูเก็ตบูลเลทินVol.7 No.83 April 2009
เรื่องอื่น ๆ
สวัสดีครับ/ค่ะ! ผม/ดิฉันเป็นหมอที่เชี่ยวชาญในด้านการแพทย์ครับ/ค่ะ ประสบการณ์ของผม/ดิฉันเกี่ยวข้องอย่างแน่นหนากับความตั้งใจในการช่วยเหลือคน และผม/ดิฉันได้ค้นพบทางที่จะใช้พรสวรรค์ทางภาษาของผม/ดิฉันในการทำเช่นนั้น ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของผม/ดิฉันได้เปิดโอกาสให้ผม/ดิฉันไม่เพียงแต่ทำงานกับผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังแบ่งปันความรู้และข้อมูลผ่านการเขียนบทความข่าวสาร
ผม/ดิฉันชื่อ Ananda Niran (อนันดา นิรันดร์) และการเดินทางในวงการแพทย์ของผม/ดิฉันเริ่มต้นมานานแล้ว ผม/ดิฉันได้รับการศึกษาที่มหิดลศาสตร์ และตั้งใจที่จะให้ความสุขและความเจริญสบายในสุขภาพกับผู้ป่วย ประสบการณ์การทำงานของผม/ดิฉันรวมถึงการปฏิบัติงานในหลากหลายสถานบริการทางการแพทย์ ที่นั่นผม/ดิฉันมีหน้าที่วินิจฉัย รักษา และดูแลผู้ป่วยที่มีโรคหลากหลาย
อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป ผม/ดิฉันเข้าใจว่าสิ่งสำคัญไม่ได้เพียงแค่การช่วยเหลือผู้ป่วยแต่เพิ่มเติมด้วยการกระจายข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับกลุ่มคนใหญ่ ในโลกที่มีข้อมูลทางการแพทย์มากมาย ผม/ดิฉันตัดสินใจที่จะเข้าร่วมมีส่วนร่วมโดยใช้ความรู้และทักษะทางภาษาของผม/ดิฉัน จึงเริ่มเขียนบทความข่าวสารเกี่ยวกับความก้าวหน้าล่าสุดในการแพทย์ โรคต่าง ๆ การป้องกัน และรูปแบบการดำเนินชีวิต
ความหลงไหลในการเขียนช่วยให้ผม/ดิฉันสามารถอธิบายคำศัพท์และความคิดทางการแพทย์ที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายและเข้าถึงได้สำหรับทุกคน ผม/ดิฉันพยายามให้ความสำคัญและรับผิดชอบต่อทุกบทความ เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีประโยชน์ ที่สามารถช่วยเหลือคนในการดูแลสุขภาพของตน
พลังประสิทธิ์ของผม/ดิฉันคือที่ทำให้ข้อมูลทางการแพทย์เข้าใจง่ายและเข้าถึงได้ นอกจากนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนใส่ใจกับความเจริญสุขของตนเอง บทความข่าวสารทุกเรื่องเป็นโอกาสที่จะแบ่งปันความรู้และช่วยเหลือคนที่กำลังมองหาข้อมูลทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้ นี่คือเสถียรภาพของผม/ดิฉัน และผม/ดิฉันภาคภูมิใจที่สามารถให้ความช่วยเหลือและแรงบันดาล
ใจในโลกของสายการแพทย์นี้ได้