สร้างบ้านเองต้องทำอย่างไร (จบ)
จากคราวที่แล้ว จะกล่าวถึงการลงมือก่อสร้าง ตั้งแต่เริ่มต้นจนแล้วเสร็จ ว่ามีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง และก่อนลงมือการก่อสร้างท่านต้องตรวจสอบราคาค่าก่อสร้างที่ผู้รับเหมาเสนอราคามาและต่อรองราคาให้เรียบร้อยก่อนทำสัญญาก่อสร้าง ในสัญญาต้องระบุวันเริ่มก่อสร้างและวันที่แล้วเสร็จที่แน่นอน เพื่อป้องกันการก่อสร้างที่ล่าช้าซึ่งเกิดขึ้นเกือบทุกแห่ง และต้องมีเบี้ยปรับในกรณีที่ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามสัญญา(ร้อยละ0.01-0.1 แล้วแต่ราคาหรือเงื่อนไขการก่อสร้าง) ทั้งนี้สามารถยืดหยุ่นได้บางกรณี เช่น เกิดเหตุสุดวิสัย วัสดุขาดตลาด เกิดภัยธรรมชาติ เป็นต้น กรณีเช่นนี้ท่านต้องพิจารณาตามความเหมาะสมและขยายเวลาออกไปได้โดยท่านต้องทำสัญญาเพิ่มเติม แนบท้ายสัญญาหลัก ต้องทำความตกลงและยินยอมรับทราบทั้งสองฝ่าย
จากนั้นท่านควรตรวจสอบงวดงานและงวดเงินให้สมดุลกันและไม่ควรให้ผู้รับเหมาเบิกเงินล่วงหน้าก่อนการทำงานถ้าจำเป็นต้องจ่ายเงินล่วงหน้าก็อาจให้ผู้รับเหมาออกหนังสือค้ำประกัน(หนังสือจากธนาคารฯ)เพื่อเป็นหลักประกัน หรือเบิกเงินงวดในแต่ละงวดเกินกว่าเนื้องานที่ทำได้ ทั้งนี้ท่านควรให้ผู้ออกแบบที่ออกแบบอาคารและควบคุมงานก่อสร้างให้ท่านตรวจสอบรายการที่ผู้รับเหมาเสนอมาว่าเหมาะสมหรือไม่ และเมื่อผู้รับเหมาทำงานเสร็จในแต่ละงวดงานทำหนังสือส่งงวดงาน ท่านก็มอบหมายให้ผู้ออกแบบและควบคุมงานแทนท่านเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่ท่านจะจ่ายเงินงวด ที่สำคัญถ้าท่านต้องการให้งานแล้วเสร็จโดยไม่มีอุปสรรคใดๆเกิดระหว่างงานก่อสร้าง เช่นผู้รับเหมาขาดสภาพคล่อง วัสดุก่อสร้างที่มีราคาค่อนค่างสูง ผู้รับเหมาบางรายอาจไม่มีเงินทุนพอ ควรจะซอยงวดงานให้ถี่ขึ้น หรือจัดซื้อวัสดุที่มีราคาสูงเอง เป็นต้น
เมื่อท่านได้รับใบอนุญาตก่อสร้างบ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และท่านได้ผู้รับเหมาก่อสร้างที่ถูกใจและโชคดีจริงๆ ที่ท่านได้ฤกษ์ก่อสร้างบ้านในช่วงนี้ ตอนนี้คงต้องมาดูกันแล้วว่าเบื้องต้นต้องทำอย่างไรบ้าง
1. เตรียมพื้นที่ที่จะทำการก่อสร้าง ปรับพื้นที่ กำจัดวัชพืช ตัดต้นไม้ที่กีดขวางในพื้นที่ก่อสร้าง จัดหาระบบสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปาชั่วคราว โดยไปขออนุญาตใช้ที่สำนักงานไฟฟ้า ประปาในเขตพื้นที่ที่ก่อสร้างบ้าน ทั้งนี้ต้องแนบเอกสารใบอนุญาตก่อสร้างบ้านประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายต่างๆควรจะให้ผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นผู้ดำเนินการรวมถึงค่าใช้จ่ายระหว่างก่อสร้างด้วย เพราะเราจะไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้
2. จัดทำแนวรั้วชั่วคราวตามแนวเขตก่อสร้างเพื่อป้องกันเศษวัสดุและฝุ่นละอองต่างๆ ที่จะไปกระทบกับที่ดินหรือบ้านข้างเคียงได้
3. จัดทำโรงเก็บวัสดุชั่วคราว เพื่อเก็บวัสดุก่อสร้างและของใช้ต่างๆให้เป็นสัดส่วน ง่ายต่อการดูแลรักษา และป้องกันการขโมย
4. จัดทำแนวป้องกันและถ่ายรูปสภาพอาคารข้างเคียงในกรณีที่เกิดข้อพิพาทหรือเกิดความเสียหายระหว่างก่อสร้างจะได้เก็บไว้เป็นหลักฐานไว้ตรวจสอบในภายหลังได้
5. ในกรณีที่ก่อสร้างอาคารชิดที่ดินและชิดกับใกล้เคียงจำเป็นต้องทำผนังกันดินเพื่อป้องกันความเสียหายของอาคารข้างเคียง
เมื่อเตรียมความพร้อมเรียบร้อยแล้วก็สามารถลงมือก่อสร้างได้เลย ในการลงพื้นที่ทำงานท่านควรเป็นผู้
ดูแลและให้ผู้รับเหมาดำเนินการทุกอย่างในพื้นที่ และถ้าท่านไม่มีผู้ควบคุมงานท่านต้องเข้าไปตรวจสอบบ้างเป็นครั้งคราวเพื่อป้องกันผู้รับเหมาลักไก่ท่าน หรือให้ผู้รับเหมาส่งรายงานการก่อสร้างประจำวันให้ท่านก่อนลงมือทำงานทุกวันเพื่อที่ท่านจะสามารถตรวจสอบได้ว่าในแต่ละวันต้องทำอะไรบ้าง ท่านอาจจะให้ผู้ออกแบบเข้ามาตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบในช่วงที่สำคัญๆ เช่น งานตอกเสาเข็ม งานตรวจสอบเหล็กก่อนการเทคอนกรีต หรือเข้ามาแก้ไขแบบในกรณีที่ไม่สามารถก่อสร้างได้ตามรูปแบบและรายการ
เมื่อก่อสร้างอาคารใกล้แล้วเสร็จซึ่งอาจเหลืองานปรับพื้นที่รอบบริเวณอาคาร ท่านสามารถทำงานตกแต่งภายในอาคารไปพร้อมๆกันเมื่ออาคารแล้วเสร็จแล้ว ท่านก็เข้าใช้อาคารได้เลย และในส่วนบริเวณรอบๆอาคารก่อนที่ท่านจะจัดทำภูมิทัศน์(Landscape) ท่านควรให้ผู้รับเหมาจัดเก็บเศษวัสดุที่ไม่ใช้เช่นเศษปูน อิฐหัก และที่สำคัญคือเศษไม้ ต้องกำจัดให้หมดไม่เช่นนั้นแล้วจะเป็นตัวนำพาปลวกเข้ามาสู่บ้านท่านในภายหลัง
สุดท้ายก่อนบ้านท่านแล้วเสร็จท่านต้องหมั่นตรวจสอบความบกพร่อง เช่นความเรียบร้อยของงาน วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ว่าตรงตามรูปแบบและรายการที่ตกลงกันไว้หรือไม่เมื่อพบปัญหาต้องรีบแก้ไขก่อนที่ผู้รับเหมา จะส่งมอบงานที่แล้วเสร็จ และเมื่อส่งงานงวดสุดท้าย ท่านต้องขอหนังสือรับประกันผลงานการก่อสร้าง ซึ่งอย่างน้อยต้องรับประกันให้ 1 ปี ถ้าท่านสามารถควบคุมงานและตรวจสอบงานตลอดระยะเวลาการก่อสร้างให้เป็นไปตามรูปแบบและรายการได้ท่านก็จะได้บ้านที่ถูกใจและไม่ก่อปัญหาให้ท่าน ท่านก็จะมีความสุขอยู่ในบ้านของท่านตลอดไปชั่วลูกชั่วหลานครับ
ที่มา : นิตยสารภูเก็ตบูลเลทิน Vol.8 No.85 June 2009
เรื่องอื่น ๆ
สวัสดีครับ/ค่ะ! ผม/ดิฉันเป็นหมอที่เชี่ยวชาญในด้านการแพทย์ครับ/ค่ะ ประสบการณ์ของผม/ดิฉันเกี่ยวข้องอย่างแน่นหนากับความตั้งใจในการช่วยเหลือคน และผม/ดิฉันได้ค้นพบทางที่จะใช้พรสวรรค์ทางภาษาของผม/ดิฉันในการทำเช่นนั้น ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของผม/ดิฉันได้เปิดโอกาสให้ผม/ดิฉันไม่เพียงแต่ทำงานกับผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังแบ่งปันความรู้และข้อมูลผ่านการเขียนบทความข่าวสาร
ผม/ดิฉันชื่อ Ananda Niran (อนันดา นิรันดร์) และการเดินทางในวงการแพทย์ของผม/ดิฉันเริ่มต้นมานานแล้ว ผม/ดิฉันได้รับการศึกษาที่มหิดลศาสตร์ และตั้งใจที่จะให้ความสุขและความเจริญสบายในสุขภาพกับผู้ป่วย ประสบการณ์การทำงานของผม/ดิฉันรวมถึงการปฏิบัติงานในหลากหลายสถานบริการทางการแพทย์ ที่นั่นผม/ดิฉันมีหน้าที่วินิจฉัย รักษา และดูแลผู้ป่วยที่มีโรคหลากหลาย
อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป ผม/ดิฉันเข้าใจว่าสิ่งสำคัญไม่ได้เพียงแค่การช่วยเหลือผู้ป่วยแต่เพิ่มเติมด้วยการกระจายข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับกลุ่มคนใหญ่ ในโลกที่มีข้อมูลทางการแพทย์มากมาย ผม/ดิฉันตัดสินใจที่จะเข้าร่วมมีส่วนร่วมโดยใช้ความรู้และทักษะทางภาษาของผม/ดิฉัน จึงเริ่มเขียนบทความข่าวสารเกี่ยวกับความก้าวหน้าล่าสุดในการแพทย์ โรคต่าง ๆ การป้องกัน และรูปแบบการดำเนินชีวิต
ความหลงไหลในการเขียนช่วยให้ผม/ดิฉันสามารถอธิบายคำศัพท์และความคิดทางการแพทย์ที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายและเข้าถึงได้สำหรับทุกคน ผม/ดิฉันพยายามให้ความสำคัญและรับผิดชอบต่อทุกบทความ เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีประโยชน์ ที่สามารถช่วยเหลือคนในการดูแลสุขภาพของตน
พลังประสิทธิ์ของผม/ดิฉันคือที่ทำให้ข้อมูลทางการแพทย์เข้าใจง่ายและเข้าถึงได้ นอกจากนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนใส่ใจกับความเจริญสุขของตนเอง บทความข่าวสารทุกเรื่องเป็นโอกาสที่จะแบ่งปันความรู้และช่วยเหลือคนที่กำลังมองหาข้อมูลทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้ นี่คือเสถียรภาพของผม/ดิฉัน และผม/ดิฉันภาคภูมิใจที่สามารถให้ความช่วยเหลือและแรงบันดาล
ใจในโลกของสายการแพทย์นี้ได้