ภูเก็ต…… ดีกว่า และ…ปลอดภัยกว่า…
เป็นที่รู้กันว่าภูเก็ตเป็นจุดหมายปลายทางระดับต้นๆ ที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเลือกที่จะมาพักผ่อนเนื่องด้วยความสวยงามตามธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ที่ตั้ง ภูมิศาสตร์ และผู้คนที่มีจิตใจเป็นเจ้าบ้านที่ดี ทำให้ที่นี่ถูกจดจำและสร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือน
แต่…ในดี มีเสีย..ในเสีย มีดี….. ภูเก็ต อาจเป็นเมืองสวรรค์ของใครต่อใครหลายคนที่ได้มาสัมผัสและเยี่ยมเยียน ให้ได้เก็บความประทับใจกลับไปบอกเล่ากล่าวขานให้ญาติสนิทเพื่อนฝูงได้มาสัมผัสสถานที่แห่งนี้เหมือนที่ตนได้พบเห็นบ้าง แต่กระนั้น อาจมีความทรงจำที่เลวร้ายของใครบางคนที่ต้องมาสูญเสียหรือจบชีวิตลงบนเกาะแห่งนี้ให้ได้เป็นที่จดจำเป็นบทเรียนชีวิตในอีกมุมหนึ่งก็ได้
ทะเล.. ความงามที่คร่าชีวิต
ไม่มีใครที่ไม่รู้ว่า ในแต่ละครั้งของการลงเล่นน้ำทะเลนั้นคือการเสี่ยงต่อชีวิต หากแต่ความเสี่ยงนั้นเราก็สามารถป้องกันหรือลดอัตราของมันลงได้ หากมีการวางมาตรการที่ดีและเคร่งครัดในการถือปฏิบัติตามมาตรการนั้น ๆ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต (อบจ.) เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในเรื่องของความปลอดภัยตามชายฝั่งร่วมกับหน่วยงานปกครองท้องถิ่น หน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกหลายหน่วยงาน ได้บริหารจัดการงบประมาณประจำปีเพื่อการสนับสนุนการวางหน่วยงานให้ความปลอดภัยตามชายฝั่งหรือ Life Guard เป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว
แต่… ทำไม แต่ละปี โดยเฉพาะหน้ามรสุม เราจึงยังได้ข่าวนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จีนบ้าง รัสเซียบ้าง ออสเตรเลียบ้างหรือแม้แต่ชาวไทยเอง.. จมน้ำ..เสียชีวิต
แค่สถิติเมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา จากข้อมูลของชมรมไลฟ์การ์ดภูเก็ต นักท่องเที่ยว 928 คน ที่ได้รับการช่วยเหลือจากการจมน้ำ และถึงกระนั้น ก็ยังมีนักท่องเที่ยวเสียชีวิตจากการจมน้ำถึง 23 ราย…..นั่นเป็นแค่จำนวนนักท่องเที่ยวที่จมน้ำตามชายหาด ยังไม่นับรวมกรณีที่เสียชีวิตกลางทะเลจากอุบัติเหตุเรือล่ม เรือชนกัน เรือไฟไหม้ อุบัติเหตุจากเจ๊ตสกี หรือนักท่องเที่ยวถูกใบพัดเรือบาดขณะดำน้ำ
เหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตของนักท่องเที่ยว ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่มากสำหรับบ้านเราในตอนนี้… และดัชนีที่ชี้ให้เห็นว่ามันเข้าขั้นวิกฤติก็คือ…ตั้งแต่กลางปีที่แล้วเป็นต้นมา มีเจ้าหน้าที่และผู้แทนจากสถานทูตประเทศต่าง ๆ เข้ามาพบท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อกระตุ้นให้หามาตรการการป้องกันเรื่องนี้ให้จริงจังมากยิ่งขึ้น
Safer Phuket
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตได้เป็นประธานการประชุมหารือเพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมสุดยอดความปลอดภัยชายฝั่งทะเลอันดามันจังหวัดภูเก็ต การประชุมครั้งนั้น สืบเนื่องมาจาก กลุ่ม เซฟเฟอร์ภูเก็ต ซึ่งได้ระดมทุนและความคิดภายใต้โครงการตามนโยบายของสถานทูตอังกฤษที่มีแนวคิดในการก่อตั้งกลุ่มเซฟตี้อันดามันหรือการรักษาความปลอดภัยชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้กำหนดจะจัดให้การสัมมนา 2 วัน และฝึกปฏิบัติ 1 วัน ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับภาพรวมในมาตรการการรักษาความปลอดภัยชายฝั่งทะเลอันดามันและความปลอดภัยเกี่ยวกับทางเรือทั้งหมด โดยต้องการการมีส่วนร่วมของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอสภาพปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ทางชายฝั่ง รวมทั้งความต้องการที่จะให้ทางกงสุลและหน่วยงานเอกชนเข้าไปช่วยเหลือ เพื่อสร้างการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตให้ยั่งยืน…. แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า การประชุมดังกล่าวในช่วงเวลาที่กำหนดไว้นั้นต้องเป็นอันพับไปชั่วคราว แต่ก็มีกำหนดที่จะจัดขึ้นใหม่ภายในปีนี้ …..ซึ่งนี่นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจทีเดียว
ดีกว่าและปลอดภัยกว่า….
จะเห็นได้ว่า หน่วยงานที่เป็นตัวตั้งตัวตีในการจัดโครงการครั้งนี้ เรียกตัวเองว่า “เซฟเฟอร์ภูเก็ต” ซึ่งใครที่คุ้นเคยอยู่ในสังคมชาวต่างชาติหรือเคยอ่านข่าวท้องถิ่นภาษาอังกฤษอาจจะพอรู้จักคร่าว ๆ แล้ว แต่เรา ภูเก็ตบูลเลทิน จะขอแนะนำหน่วยงานนี้ให้คุณผู้อ่านได้รู้จักกันให้ลึกยิ่งขึ้นว่า หน่วยงานนี้คืออะไร เก่งแค่ไหนที่จะมาทำให้ภูเก็ตบ้านเรา “เซฟเฟอร์”
เซฟเฟอร์ภูเก็ต แนะนำตัวเองว่า จะเป็นโครงการที่เน้นในเรื่องการทำให้เกิดเสียงเรียกร้องและการชักชวนให้ผู้ถือประโยชน์ร่วมกันหันมาสนใจในเรื่องความปลอดภัยริมชายฝั่ง เซฟเฟอร์ภูเก็ตต้องการที่จะเห็นการแก้ปัญหาในภูเก็ตและแถบอันดามันเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน สร้างความตระหนักในกลุ่มผู้ให้บริการและสร้างความเชื่อมั่นให้กับแขกผู้มาเยือนอย่างมืออาชีพ รวมทั้งสร้างความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของระบบการจัดการและกระบวนการดูแลความปลอดภัย
นั่นเป็นสิ่งที่ เซฟเฟอร์ภูเก็ต ระบุไว้ในเว็บไซต์ แต่เราจะมาฟังกันให้ชัดๆ จากปากผู้ชายคนนี้ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง เซฟเฟอร์ภูเก็ต “คุณดันแคน สจ๊วต” Mr. Duncan Stewart
เขาคือใคร… ดันแคน สจ๊วต เป็นนักธุรกิจชาวอังกฤษที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจด้านการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์และต้องการพักผ่อนพร้อมทำในสิ่งที่เขารัก ซึ่งนั่นก็คือ การล่องเรือไปรอบโลก ดันแคนเข้ามาที่เกาะภูเก็ตเมื่อสองปีที่ผ่านมา และได้ร่วมงานที่บริษัทเรือยอร์ชแห่งหนึ่ง สิ่งที่เขาได้พบเห็นในระหว่างทำงานบนเกาะแห่งนี้คือ… คนให้บริการเรือ ขาดจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัย รวมทั้งเมื่อได้เห็นข่าวเกี่ยวกับการจมน้ำของนักท่องเที่ยวบ่อยครั้งขึ้น ทำให้เขาอยากทำอะไรบางอย่างเพื่อเป็นการตอบแทน “ผมเป็นกัปตันเรือเชิงพานิชที่ผ่านการฝึกฝนมาอย่างมาก แต่พอผมมาเห็นพฤติกรรมที่รับไม่ได้ของกัปตันเรือทัวร์ที่นี่ เช่น แล่นเรือเข้ามาที่หาดด้วยความเร็วที่สูงเต็มที่ในช่วงวินาทีสุดท้าย ผมไม่อยากจะเชื่อเลยว่าสิ่งนี้เกิดขึ้น มันเป็นหนึ่งตัวอย่างเล็ก ๆ ที่ผมเห็น หลังจากนั้นผมก็พยายามที่จะหาคำตอบเกี่ยวกับการฝึกฝนของกัปตันเรือ แล้วผมก็ค้นพบว่าจริง ๆ แล้วพวกเขาไม่ได้มีการฝึกฝนและมีกระบวนการรับรองที่เหมาะสมเลย ผมเลยเริ่มตระหนักและเห็นว่ายังมีเรื่องที่ต้องการการปรับปรุงมากมายในเรื่องของมาตรฐานความปลอดภัย ผมจึงเริ่มเข้าไปคุยกับผู้คน แล้วพูดกับพวกเขาว่า ทำไมเราไม่ทำอะไรสักอย่าง… ผมไม่ได้จะมาที่นี่แล้วบอกว่าเรารู้ว่าควรทำยังไง ผมรู้ว่าทุกๆ คนกำลังทำดีที่สุดเท่าที่พวกเขาจะทำได้อยู่แล้ว ดังนั้นพวกเราเลยเริ่มภารกิจนี้และลองหาหนทางที่จะพาผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศและนำพวกเขามาช่วยในการจัดการ และนั่นเป็นเพียงการช่วยสนับสนุนเพียงเพราะอยากจะตอบแทนอะไรกับที่นี่บ้าง ดังนั้น Safer Phuket จึงได้เกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นปีที่แล้ว โดยมีผมและเพื่อนๆ คือ คุณปีเตอร์ กริม และอีกคนคือ คุณมาร์ติน คาร์เพนเตอร์” |
จุดเริ่มต้น….Safer Phuket
ดันแคนบอกว่า ปัญหาใหญ่ก็คือการระดมทุน แต่เขาและทีมงานก็จะลองหาทางที่จะสามารถช่วยในการระดมทุนให้มากยิ่งขึ้น นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม Safer Phuket จึงกลายเป็นหน่วยงานที่เรียกว่า “กิจการเพื่อสังคม” หรือ Social Enterprise
“เหตุผลที่ผมจัดตั้ง เซฟเฟอร์ภูเก็ต ให้เป็นกิจการเพื่อสังคมเพราะผมเห็นว่ามันเป็นหนทางที่ดีที่สุด ผมเติบโตขึ้นในครอบครัวที่ช่วยสังคมมาตลอดและผมก็รักที่จะทำธุรกิจด้วย ผมคิดว่าธุรกิจสามารถทำและนำเสนออะไรได้มากมาย หลักการของกิจการเพื่อสังคมนั้น หน่วยงานจะมีอิสระในการหาเงินเข้าองค์กรได้มากกว่าการเป็นมูลนิธิที่ส่วนใหญ่แล้วจะรอเงินจากการบริจาคอย่างเดียว มันเป็นอะไรที่ปกติมากในอังกฤษ เราสามารถมีแผนกการซื้อการขายและทำการโฆษณาได้ ผมคิดว่ามันเป็นวิธีการที่ดีที่จะทำอะไรสักอย่างเพื่อสังคมในรูปแบบนี้ และนี่ก็คือทั้งหมดที่พวกเราจะต้องหาเงิน ต้องขายโฆษณา แล้วพวกเราต้องวางใจกับงบของ CSR ของบริษัทต่างๆ ด้วย”
ทำอะไรไปแล้วบ้าง
เซฟเฟอร์ภูเก็ต ได้ใช้เวลาตลอดระยะเวลาทั้งปีที่ผ่านมาในการคิดแผนงาน พัฒนาความเป็นไปได้ สร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์กับหน่วยงานต่าง ๆ อาจจะยังไม่เห็นอะไรเกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่างนัก แต่ดูแล้ว งานนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ และต้องใช้เวลา “เราต้องมองให้ออกว่าปัญหาคืออะไร ใครคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้ รวมทั้งหาข้อมูลความรู้และทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะมาช่วยสนับสนุนให้โครงการต่าง ๆ ของเราเกิดขึ้น ดังนั้นเราต้องทำงานหนักมาก เราต้องการการสนับสนุนจากสถานทูตต่าง ๆ ท่านผู้ว่าฯ นักการเมือง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานราชการอื่น ๆ ผมยังได้กลับไปที่อังกฤษ ติดต่อผู้คนมากมาย มันใช้เวลาเยอะและเงินจำนวนมากที่ต้องนำทุกอย่างเข้ามาด้วยกัน”
สิ่งที่กำลังทำและต้องการทำ
“เราเริ่มต้นด้วยเรื่องของไลฟ์การ์ด เราต้องการยกระดับและประสิทธิภาพการทำงานของชมรมไลฟ์การ์ดในภูเก็ตให้ดียิ่งขึ้น ขณะนี้ทาง อบจ. มีงบประมาณให้กับไลฟ์การ์ดปีละประมาณ 20 ล้าน แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอ ซึ่งปัจจุบันทางชมรมไลฟ์การ์ดเขาทำงานได้ดีมากอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เราต้องการจะทำคือช่วยพวกเขาในเรื่องระดมทุนและการจัดการต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น”
งานของ เซฟเฟอร์ภูเก็ต ที่กำลังเริ่มอยู่ในขณะนี้ คือการทำสร้างหอคอยไลฟ์การ์ดใหม่ขึ้นโดยอาศัยเงินสนับสนุนจากหน่วยงานที่ต้องการประชาสัมพันธ์องค์กรของตนเองบนหอคอย รวมทั้งกำลังระดมทุนเพื่อจัดซื้อเจ๊ตสกี และเครื่องช่วยกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจเพิ่มเติม รวมทั้งรถพยาบาลและวิธีการจัดการที่จะสามารถนำส่งผู้ป่วยให้ถึงโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
เซฟเฟอร์ภูเก็ต ยังมีแนวคิดที่จะช่วยดูแลคุณภาพของน้ำทะเลในแต่ละหาด เพื่อจะได้ยืนยันว่าน้ำทะเลในแต่ละที่ สะอาดปลอดภัยน่าเล่น และช่วยสร้างจิตสำนึกให้กับผู้ประกอบการริมหาดว่า ความสะอาดของน้ำทะเลและชายหาดก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ รวมทั้งเรื่องของระบบนิเวศต่าง ๆ เต็มรูปแบบ รวมทั้งยังมีแนวคิดที่จะนำหลักการของ ISO 13009 ซึ่งเป็นมาตรฐานการจัดการชายหาดฉบับใหม่ล่าสุดมาทดลองใช้กับเกาะภูเก็ตอีกด้วย
การมีส่วนร่วม…สำคัญที่สุด
ดันแคนบอกว่า ปัญหาในการทำงานหลัก ๆ ของกลุ่มเซฟเฟอร์ภูเก็ตตอนนี้มีอยู่สองอย่าง หนึ่งคือเข้าถึงกลุ่มคนไทยเพื่อกระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม และสองคือการระดมทุน
“เราต้องการที่จะพัฒนาการติดต่อสื่อสารและเชื่อมโยงเข้าไปถึงสังคมไทยให้มากกว่านี้ ดังนั้นผมจึงยินดีมากที่จะได้ยินการตอบรับจากคนไทยทุกคน เพราะว่าถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม ไม่มีการแนะนำและการสนับสนุนจากสังคมไทยในสิ่งที่พวกเรากำลังทำอยู่นั้น ทุกอย่างก็คงไม่มีความหมายอะไร สิ่งที่เราต้องการคือการเข้าถึงกลุ่มคนไทย หน่วยงานของไทย เราต้องการสื่อข้อความให้กัปตันเรือทัวร์ให้เข้าใจ ต้องการให้ผู้ประกอบการชายหาดเข้าใจด้วย ผู้คนที่อยู่ที่ชายหาดจำเป็นต้องเข้าใจว่าทำไมความปลอดภัยถึงเป็นเรื่องสำคัญและมันจะส่งผลกระทบอะไรบ้าง”
ส่วนในเรื่องของการระดมทุน เขาเปิดเผยว่า โครงการ Sponsorship program ซึ่งกำลังเริ่มดำเนินการอยู่ตอนนี้ ยังต้องการงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ อยู่ และคาดว่าจะได้รับการตอบรับด้วยดี
ความคาดหวัง
ดันแคนบอกว่า เขาจะยินดีกับผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น อย่างน้อยที่สุดก็ให้ได้เห็นสถานการณ์ของชมรมไลฟ์การ์ดในภูเก็ต สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ “ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ดีถ้าพวกเรามีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการช่วยชีวิตเต็มที่ในชายหาดทั้ง 13 แห่งของเกาะภูเก็ต เมื่อทีมงานไลฟ์การ์ดสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบและพวกเรามีการทดสอบคุณภาพน้ำอย่างเต็มที่รวมไปถึงการทำโปรแกรมด้านระบบนิเวศซึ่งต้องการความร่วมมือกันระหว่างโรงแรมต่างๆ ได้แล้ว เราก็จะสามารถนำไปเป็นต้นแบบในที่อื่น ๆ ได้อีกมากมาย ท้ายที่สุดก็สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริงในสังคมไทย”
“เรื่องทุกอย่าง สมควรเป็นความพยายามของทุกฝ่ายเพราะเราอยู่ที่นี่ร่วมกัน งานของผมนั้นไม่ใช่การแก้ปัญหาแต่เป็นการช่วยเหลือมากกว่า สิ่งที่ผมต้องการเห็นจริง ๆ คือสถานการณ์ที่พวกเราสร้างธุรกิจให้ยั่งยืน ผมต้องการให้คนไทยเข้าใจว่าความปลอดภัยคือคุณภาพ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ดีสำหรับธุรกิจและมันคือดัชนีชี้วัดการบริการอีกตัวหนึ่ง การจัดลำดับความสำคัญด้านความปลอดภัยนั้นมีวัฒนธรรมที่เหมือนกันทั่วโลกและมันจะเป็นตัวช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จ ดังนั้นผมจึงพยายามที่จะสื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญของความปลอดภัย มันคือสิ่งที่จำเป็นต้องทำ และไม่ใช่ตัวเลือกหรืออ๊อพชั่นที่มีก็ได้ไม่มีก็ได้”
เมื่อมาถึงจุดนี้ก็ต้องยอมรับว่า หนักหนาเอาการสำหรับเรื่องของความปลอดภัยที่เราจะต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกันอย่างจริงจังอีกเรื่องหนึ่ง เพราะหากเราชาวภูเก็ตไม่เห็นความสำคัญของมันแล้ว อนาคตเราคงอาจจะได้ยินสมญานามใหม่ให้กับบ้านเมืองของเรา….. “Phuket Dangerous”….. อย่างแน่นอน…..
ติดตามรายละเอียดและร่วมสนับสนุนโครงการต่างๆ ของ Safer Phuket ได้ที่ www.saferphuket.com
————————————————–
กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
คือหน่วยงานที่ดำเนินงานโดยใช้ยุทธศาสตร์แบบกลไกตลาดเพื่อเป้าหมายทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานของกิจการเพื่อสังคมจะมุ่งเน้นเป้าหมายทางสังคม สิ่งแวดล้อม และการเงินไปพร้อม ๆ กัน หรือที่เรียกว่า Triple Bottom Line โดยเป้าหมายทางการเงิน เช่นการสร้างรายได้นั้น มีขึ้นเพื่อเพิ่มผลประโยชน์ของสังคมหรือสิ่งแวดล้อม แทนที่จะเป็นผลประโยชน์ของบริษัทหรือผู้ถือหุ้นเหมือนกิจการทั่วไป กิจการเพื่อสังคมเกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่าเมื่อสังคมก้าวหน้า ขยายขนาด และมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมจึงเกิดขึ้นตามมาโดยทวีความซับซ้อน หลากหลาย และความรุนแรงเช่นเดียวกัน จนยากที่หน่วยงานภาครัฐจะรับมือได้ทั้งหมด
กิจการเพื่อสังคม มักมีลักษณะดังต่อไปนี้
- ดำเนินงานเพื่อผลประโยชน์ทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อม และมีแนวทางการหารายได้ด้วยตนเองเพื่อหล่อเลี้ยงการดำเนินงานอย่างยั่งยืน โดยที่มาของรายได้สามารถอยู่ในรูปแบบการขายผลิตภัณฑ์และ/หรือบริการ การระดมทุนโดยให้ผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุน จนถึงการขอรับบริจาคหรือการสนับสนุนทางการเงินแบบให้เปล่าเหมือนองค์การสาธารณประโยชน์
- เน้นการใช้นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา นั่นคือการคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ที่สามารถแก้ปัญหาที่เป็นเป้าหมายของการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผล ยั่งยืน และสามารถต่อยอดผลลัพธ์ได้
- การดำเนินงานโดยอาศัยความร่วมมืออย่างกว้างขวาง เพื่อใช้ศักยภาพเฉพาะทางของหน่วยงานต่าง ๆ ในเครือข่ายเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน
สวัสดีครับ/ค่ะ! ผม/ดิฉันเป็นหมอที่เชี่ยวชาญในด้านการแพทย์ครับ/ค่ะ ประสบการณ์ของผม/ดิฉันเกี่ยวข้องอย่างแน่นหนากับความตั้งใจในการช่วยเหลือคน และผม/ดิฉันได้ค้นพบทางที่จะใช้พรสวรรค์ทางภาษาของผม/ดิฉันในการทำเช่นนั้น ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของผม/ดิฉันได้เปิดโอกาสให้ผม/ดิฉันไม่เพียงแต่ทำงานกับผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังแบ่งปันความรู้และข้อมูลผ่านการเขียนบทความข่าวสาร
ผม/ดิฉันชื่อ Ananda Niran (อนันดา นิรันดร์) และการเดินทางในวงการแพทย์ของผม/ดิฉันเริ่มต้นมานานแล้ว ผม/ดิฉันได้รับการศึกษาที่มหิดลศาสตร์ และตั้งใจที่จะให้ความสุขและความเจริญสบายในสุขภาพกับผู้ป่วย ประสบการณ์การทำงานของผม/ดิฉันรวมถึงการปฏิบัติงานในหลากหลายสถานบริการทางการแพทย์ ที่นั่นผม/ดิฉันมีหน้าที่วินิจฉัย รักษา และดูแลผู้ป่วยที่มีโรคหลากหลาย
อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป ผม/ดิฉันเข้าใจว่าสิ่งสำคัญไม่ได้เพียงแค่การช่วยเหลือผู้ป่วยแต่เพิ่มเติมด้วยการกระจายข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับกลุ่มคนใหญ่ ในโลกที่มีข้อมูลทางการแพทย์มากมาย ผม/ดิฉันตัดสินใจที่จะเข้าร่วมมีส่วนร่วมโดยใช้ความรู้และทักษะทางภาษาของผม/ดิฉัน จึงเริ่มเขียนบทความข่าวสารเกี่ยวกับความก้าวหน้าล่าสุดในการแพทย์ โรคต่าง ๆ การป้องกัน และรูปแบบการดำเนินชีวิต
ความหลงไหลในการเขียนช่วยให้ผม/ดิฉันสามารถอธิบายคำศัพท์และความคิดทางการแพทย์ที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายและเข้าถึงได้สำหรับทุกคน ผม/ดิฉันพยายามให้ความสำคัญและรับผิดชอบต่อทุกบทความ เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีประโยชน์ ที่สามารถช่วยเหลือคนในการดูแลสุขภาพของตน
พลังประสิทธิ์ของผม/ดิฉันคือที่ทำให้ข้อมูลทางการแพทย์เข้าใจง่ายและเข้าถึงได้ นอกจากนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนใส่ใจกับความเจริญสุขของตนเอง บทความข่าวสารทุกเรื่องเป็นโอกาสที่จะแบ่งปันความรู้และช่วยเหลือคนที่กำลังมองหาข้อมูลทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้ นี่คือเสถียรภาพของผม/ดิฉัน และผม/ดิฉันภาคภูมิใจที่สามารถให้ความช่วยเหลือและแรงบันดาล
ใจในโลกของสายการแพทย์นี้ได้