ตำนานพ่อตาโต๊ะเเซะ Text size: ทุกห้วงคำนึงเเห่งความทุกข์ ความสิ้นหวัง มันช่างกัดกร่อนจิตใจของมนุษย์ สิ่งหนึ่งซึ่งสามารถบรรเทาจิตใจดั่งยาวิเศษ เเละอยู่เคียง ข้าง กับรากเหง้าความเป็นไทยเสมอมา ก็คือ สิ่งศักสิทธิ์ เเม้สิ่งนี้ไม่ได้ถูกพิสูจน์คุณค่าด้วยหลักวิชาการหรือนวัตกรรมอันล้ำหน้าก็ตาม ทว่าจากการที่ สิ่งศักสิทธิ์ อยู่ยงคงกระพันมาเเสนนาน เเละไม่เคยต้องพลัดพรากไปจากวัฒนธรรมของคนไทย ย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ได้เป็นอย่างดีว่า เเก่นเเท้ของสิ่งนี้คืออะไร คอลัมน์ย้อนรอยในฉบับนี้ขอนำเสนอ “ตำนานพ่อตาโต๊ะเเซะ” สิ่งศักสิทธิ์เเห่งเมืองภูเก็ต พ่อตาโต๊ะเเซะ มีทั้งหมด 3 องค์ ได้เเก่ พ่อตาโต๊ะแซะขาว พ่อตาโต๊ะแซะดำ พ่อตาโต๊ะแซะแดง เชื่อกันว่าในอดีต เป็นผู้บุกเบิกตั้งชุมชนในภูเก็ต คือ อิสลามสามพี่น้องที่แล่นเรือไม้จากมาเลเซีย และอินโดนีเซียมาขึ้นบก แล้วแยกย้ายเอาธัญญาหารหาญต่างๆ ไปปลูกขยายพันธุ์อยู่คนละที่และในที่สุดได้กลายเป็น “โต๊ะ” หรือ เจ้าพ่อเจ้าแม่ แบ่งเขตคุ้มครองคนละแดน บนเกาะแห่งนี้ โดยมี โต๊ะยา ซึ่ง เป็นเจ้าแม่อยู่หาดสุรินทร์ กมลา ทางตะวันตกของเกาะภูเก็ต ส่วนโต๊ะแซะ เป็นเจ้าของที่อยู่ในเขตตลาดของอำเภอเมือง และมีศาลให้คนมากราบไหว้ ขณะที่โต๊ะพระแทว น้องสุดท้องดูแลอำเภอถลาง ก็มีศาลอยู่ที่เขาพระแทว ชาวภูเก็ตได้เล่าสืบต่อกันมาอีกว่า…
ย้อนอดีตเมืองภูเก็ต – ย้อนอดีตเมืองภูเก็ต 2552, บรรยากาศ, Old Phuekt
งานตรุษจีน-ย้อนอดีตเมืองภูเก็ต Text size: กลับมาอีกครั้งกับงานตรุษจีน-ย้อนอดีตเมืองภูเก็ต ซึ่งในทุกปีทางเทศบาลนครภูเก็ตและประชาชนชาวภูเก็ตจะร่วมใจกันจัดงานย้อนอดีตเมืองภูเก็ตขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์อาคารเก่า และส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตเมือง อันจะเป็นมิติใหม่แห่งการท่องเที่ยว เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่จะเข้ามาท่องเที่ยวยังจังหวัดภูเก็ตในอนาคต ตลอดทั้ง 3 วันก็มีกิจกรรมและการแสดงมากมายให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสบรรยากาศกลิ่นอายวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวภูเก็ต อาทิ ชม Animation สถาปัตยกรรมชิโนโปรตุเกส ณ บ้านเลขที่ 63 , ชมภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในจังหวัดภูเก็ต ณ ลานชั้นบนสวน 72 พรรษามหาราชินี , ล่องเรือกอจ๊านบริเวณริมคลองบางใหญ่ในตัวเมืองภูเก็ต, ชมภาพถ่ายสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุเกส และการเสวนาภาษาภูเก็ตกับปราชญ์ท้องถิ่น ณ พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว ถนนกระบี่, การแสดงและการละเล่นต่างๆ บริเวณถนนถลาง, การออกร้านจำหน่ายอาหารพื้นเมือง ขนมโบราณ บริเวณริมคลองบางใหญ่ สวน 72 พรรษา มหาราชินี และการแสดงสุดยอดอุปรากรจีน นาฏศิลป์ท้องถิ่น กังฟู และระบำพื้นเมือง จาก 7 มณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบด้วย มณฑลกวางสี มณฑลไหหนาน มณฑลอานฮุย มณฑลซานตง (เอี้ยนไถ)…
เปิดตำนานงานวัดฉลอง – งานวัดฉลอง, ภูเก็ต
เปิดตำนานงานวัดฉลอง Text size: ถึงเทศกาลตรุษจีนทีไร ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า “งานวัดฉลอง” ก็เริ่มต้นขึ้นด้วยเช่นกัน สำหรับความเป็นมาของงานวัดฉลองซึ่งจะจัดตรงกับวันตรุษจีนของทุกๆ ปีนั้น มีเกร็ดอดีตที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยทีเดียว เรื่องราวมีอยู่ว่า สมัยก่อนผู้คนแถบบ้านฉลองซึ่งมีอาชีพทำนา ทำไร่ เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จในช่วงเดือนอ้าย เดือนยี่แล้ว ก็จะเข้าหน้าแล้งพอดี ช่วงที่ว่างเว้นจากการทำนาในช่วงหน้าแล้งนี้ ชาวบ้านก็จะรวมตัวกันเพื่อแสวงหาความรื่นเริงบันเทิงใจ หลังจากที่ต้องตรากตรำทำนามาตลอดช่วงฤดูฝน ซึ่งสมัยก่อนสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของผู้คน ก็เห็นจะมีแต่วัดเท่านั้น ชาวบ้านจึงรวมตัวกันไปทำบุญพร้อมกับจัดงานรื่นเริงร่วมกันด้วย อาจกล่าวได้ว่า นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของงานประจำปีวัดฉลอง ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกประมาณปี พ.ศ.2476 ต่อมาชาวบ้านรู้สึกว่าการจัดงานบุญรื่นเริงเช่นนี้ อาจจะเป็นการรบกวนพระสงฆ์องค์เจ้า จึงเห็นสมควรให้ย้ายสถานที่จัดงานใหม่ ไปที่บริเวณห้าแยกฉลองหรือตรงที่เป็นท่าเทียบเรือในปัจจุบันซึ่งเป็นที่ดินของวัดในปีพ.ศ.2484 โดยใช้สถานที่นั้นจัดงานอยู่หลายปี แต่ต่อมาเมื่อพระครูกิจจานุการ (หลวงพ่อช่วง) ได้มรณภาพลง ในครั้งนั้นทางวัดได้จัดงานฌาปนกิจหลวงพ่อท่านอย่างยิ่งใหญ่ คณะกรรมการวัดก็เห็นพ้องต้องกันอีกว่าการจัดงานในวัดจะเป็นการสะดวกกว่าให้จัดงานที่ชายทะเล เพราะบริเวณชายทะเลไม่มีพื้นที่ที่เป็นศูนย์รวมเด่นชัด และไม่มีเป้าหมายชัดเจนว่ามารวมตัวกันเพื่ออะไร มีแต่อันเชิญรูปหลวงพ่อแช่ม และหลวงพ่อช่วงไปสักการะเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นที่ไม่ประทับใจของชาวบ้าน อีกทั้งบริเวณที่จัดงานยังกว้างขวาง ทำให้แลดูกระจัดกระจาย งานประจำปีของวัดฉลองจึงได้ย้ายกลับมาจัดที่วัดใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อย้ายกลับมาที่วัดแล้ว คณะกรรมการวัดก็พิจารณาเห็นว่าถ้าหากมีการจัดงานวัดเลื่อนจากเดือนอ้าย เดือนยี่ มาเป็นเดือนสามซึ่งตรงกับตรุษจีนจะเหมาะสมกว่า เพราะช่วงตรุษจีนคนไทยเชื้อสายจีนจะนิยมไปไหว้พระที่วัดกันมาก ดังนั้นงานประจำปีวัดฉลอง จึงได้ย้ายจากเดือนยี่มาเป็นเดือนสามนับแต่บัดนั้น ช่วงระยะเวลาการจัดงานจะเริ่มตั้งแต่วันชุ่ยอิ้ดเป็นต้นไปจนถึงวันชุ่ยเก้า รวมเป็นเวลาเก้าวัน แต่ต่อมาก็ลดลงเหลือเจ็ดวันดังเช่นปัจจุบัน งานวัดฉลอง…
วันเดือนสาม หรือตรุษจีน “ชุนเจี๋ย” “春節” เทศกาลวสันต์
“เจียะป้าอาโบ่ย” (กินอิ่มหรือยัง) เป็นคำทักทายของคนจีนภูเก็ต แทนคำว่า 你好 “หนีห่าว” (สวัสดี) ของคนจีนปัจจุบันมาแต่โบราณ อาจเป็นเพราะความยากลำบากหรืออดอยากตอนอยู่เมืองจีนดังนั้นวันตรุษจีนจึงเป็นวันรวมญาติที่สำคัญที่สุดบนโต๊ะอาหารจึงเต็มไปด้วยหมูเห็ดเป็ดไก่และทุกคนต้องมากินข้าวด้วยกัน ถึงแม้ทำงานอยู่ไกลแสนไกลแต่วันนี้ต้องกลับเพื่อพบญาติบอกเล่าส่งข่าวต่อกัน เทศกาลตรุษจีนมีชื่อทางการปัจจุบันเป็นภาษาจีนว่า “春節” “ชุนเจี๋ย” เทศกาลวสันต์ (Spring Festival) เป็นเทศกาลที่ยาวนานและยิ่งใหญ่คึกคักที่สุดเทศกาลนี้จะเริ่มตั้งแต่ 8 ค่ำเดือน 12 ยาวจนถึง 15 ค่ำเดือนอ้ายของปีถัดไปตามปฏิทินเกษตรจีน แต่ความคึกคักมากสุดจะอยู่ที่วันที่ 30 เดือน 12 (วันสิ้นปี) วัน 1 ค่ำเดือนอ้าย (ต้นปี) และวัน 15 ค่ำเดือนอ้าย เรียกว่า “ซ่างหยวน” (เพ็ญแรกต้นปี) จึงเป็นเทศกาล “หยวนเซียว” (ราตรีเพ็ญแรก) วันตรุษจีน– วันหยวนเซียว(ราตรีเพ็ญแรก)พิธีเปิดงาน “ป่างเตงโห่ย” เทศกาลโคมไฟภูเก็ต เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559ชมรมอ๊ามภูเก็ตร่วมกับศูนย์การค้าไลม์ไลท์อเวนิวจัดงาน “วันตรุษจีน-วันหยวนเซียว” คนจีนที่อพยพมาภูเก็ตเป็น“ชาวฮั่น” ที่มีอารยธรรมมาหลายพันปีมักจะเรียกตัวเองว่า “เหลงเอ่เอ่าต่าย” 龍的傳人…
‘ฮิญาบ’ เป็นมากกว่า ‘ผ้าคลุมศีรษะ’ – ฮิญาบ, ผ้าคลุมศีรษะ, ชาวมุสลิม, พระองค์อัลเลาะห์, อัลกุรฺอาน, ภูเก็ต
‘ฮิญาบ’ เป็นมากกว่า ‘ผ้าคลุมศีรษะ’ Text size: พูดถึงเครื่องแต่งกายแล้วทางภาคใต้ของเราก็มีวัฒนธรรมการแต่งกายหลากหลายรูปแบบตามพื้นที่แต่ละจังหวัด แต่ถ้าจะให้แยกประเภทอย่างชัดเจนเด่นชัดทางฝั่งภูเก็ตบ้านเราเห็นจะเป็นการแต่งกายแบบชาวจีน – มลายูในชุดบาบ๋า ยาหยา และการแต่งกายของชาวมุสลิม ในชุดอาบายะห์ โต๊บ จีลบ๊าบ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นใต้ที่ง่ายต่อการสังเกตและการจดจำ สิ่งหนึ่งที่เราเห็นและแอบสงสัยมานานเกี่ยวกับการแต่งกายของหญิงสาวชาวมุสลิมนั่นก็คือ ผ้าคลุมศีรษะ หรือที่เรียกว่า ‘ฮิญาบ’ นั่นเอง วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องราวดังกล่าวจากพี่น้องชาวมุสลิมไปพร้อม ๆ กันค่ะ ก่อนอื่นเราจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ‘ฮิญาบ’ คือผ้าคลุมศีรษะของผู้หญิงมุสลิม ซึ่งศาสนาอิสลามระบุให้ผู้หญิงสวมผ้าคลุมปิดจนถึงหน้าอก เพื่อเป็นการปกปิดร่างกายให้มิดชิด เป็นการสำรวม การคลุมผ้าของสตรีมุสลิมนั้นไม่ใช่ประเพณีของอาหรับ แต่เป็นบทบัญญัติของศาสนา ซึ่ง ‘ฮิญาบ’ แปลว่า ‘ปิดกั้น’ การคลุมฮิญาบของสตรีอิสลามก็เปรียบเสมือนการปฏิบัติธรรมเฉกเช่นสตรีในศาสนาอื่นที่ปฏิบัติธรรมนั่นเอง คือการมีคุณธรรมประจำตน ทำให้สังคมมีศีลธรรมลดปัญหาสังคมต่าง ๆ การคลุมฮิญาบของสตรีนั้น โดยทั่วไปจะเปิดเผยแค่ใบหน้าและฝ่ามือ ส่วนการปิดจนเหลือแต่ลูกตานั้นเป็นทัศนะที่ปฏิบัติเพื่อป้องกันตนเองจากฟิตนะห์ (ความไม่ดีไม่งามทางสังคม) เช่น ป้องกันการถูกแซว หรือ การหยอกล้อเชิงชู้สาวจากเพื่อนชาย เป็นต้น ประวัติเรื่องราวที่มาของการคลุมผม หรือฮิญาบ มีอยู่ว่า… ช่วงแรก ๆ ในการเป็นศาสนทูตของท่านนบีมูฮำมัดนั้น ยังไม่มีคำสั่งเรื่องการคลุมฮิญาบลงมา…
โบสถ์คริสต์-โบสถ์คริสต์ ภูเก็ต, ชาวคริสต์ ภูเก็ต
นิตยสารภูเก็ตบูเลทิน เมษายน 2561 75 ถนนภูเก็ต : การเสด็จมาของ “พระมหาโพธิสัตต์” บนเกาะภูเก็ต เรื่องจากปก : หุ่นสายภูเก็จ กับความภูมิใจสู่เวทีหุ่นโลก Business : About BEฟินดี๊ดี ทั้งซีฟู้ดและของหวาน Business : เติมเต็มช่วงเวลาแห่งความสุข… ที่ Dolphins Bay Phuket ห้องรับแขก : ปลูกวัคซีนให้ชีวิต กับ พระอาจารย์อานนท์ อัมมโร Copyright© 2005 – 2018 phuketbulletin.co.th, All rights reserved
Festival-เทศกาล ประเพณี ภูเก็ต, กินเจ, ไหว้พระจันทร์, ผ้อต่อ
เทศกาลไหว้พระจันทร์ ขนมไหว้พระจันทร์ของจีนแต่เดิมนั้นมีส่วนประกอบ เช่น ถั่วแดง ลูกนัทจีน 5 ชนิด และ เมล็ดบัว เป็นต้น ในประเทศไทยก็มีส่วนประกอบที่แตกต่างออกไป เช่น การรวมเอาทุเรียน ลูกเกาลัดและลูกพลับเข้าไว้ด้วย เครื่องปรุงที่เพิ่มเข้ามาก็อาจจะรวมเอาเมล็ดบัว ไข่แดงเค็ม และเมล็ดแตงโมด้วย งานผ้อต่อ ภูเก็ต งานผ้อต่อ (ภาษาคนภูเก็ต) หรือ วันสารทจีน ของจังหวัดภูเก็ตเป็นเทศกาลงานบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษ เป็นประเพณีที่ชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดภูเก็ตปฏิบัติสืบทอดต่อกันมายาวนาน งานตรุษจีน-ย้อนอดีตเมืองภูเก็ต กลับมาอีกครั้งกับงานตรุษจีน-ย้อนอดีตเมืองภูเก็ต ซึ่งทางเทศบาลนครภูเก็ตและประชาชนชาวภูเก็ตจะร่วมใจกันจัดงานนี้ขึ้น
Peranakan-เพอรานากัน บาบ๋า ภูเก็ต, วิวาห์บ้าบ๋า, วัฒนธรรม ภูเก็ต
วันเดือนสาม หรือตรุษจีน “ชุนเจี๋ย” “春節” เทศกาลวสันต์ เทศกาลตรุษจีนมีชื่อทางการปัจจุบันเป็นภาษาจีนว่า “春節” “ชุนเจี๋ย” เทศกาลวสันต์ (Spring Festival) เป็นเทศกาลที่ยาวนานและยิ่งใหญ่คึกคักที่สุดเทศกาลนี้จะเริ่มตั้งแต่ 8 ค่ำเดือน 12 ยาวจนถึง 15 ค่ำเดือนอ้ายของปีถัดไปตามปฏิทินเกษตรจีน แต่ความคึกคักมากสุดจะอยู่ที่วันที่ 30 เดือน 12 (วันสิ้นปี) วัน 1 ค่ำเดือนอ้าย (ต้นปี)และวัน 15 ค่ำเดือนอ้าย เรียกว่า “ซ่างหยวน” (เพ็ญแรกต้นปี) วัฒนธรรมการแต่งกายแบบบาบ๋า ปัจจุบันชาวภูเก็ตยังคงรักษาวัฒนธรรมการแต่งกายแบบจีนบาบ๋าไว้โดยปรับเปลี่ยนรายละเอียดให้เหมาะสมกับยุคสมัย
Lifestyle-วิถีชีวิต คนภูเก็ต, ชาวประมง, ชาวพื้นเมืองภูเก็ต
วิถีแห่งคันเบ็ด ชายหนุ่มหลายคนจากหลายอาชีพได้มารวมตัวกันเป็นกลุ่มนักตกปลา อย่างเช่น จิม ช่างซ่อมรองเท้า โอ๋ ผู้เป็นครูสอนศิลปะ เล็ก ที่เปิดร้านอุปกรณ์เบ็ดตกปลา และโตโต้ ผู้ซึ่งประกอบอาชีพด้านคอมพิวเตอร์ไอที ทั้งสี่คนเป็นตัวแทนของกลุ่มนักตกปลาที่เรียกตัวเองว่า ‘กลุ่มชาโดว์’ ได้มาเล่าถึงเรื่องราวความเป็นมาทั้งหลาย ตลอดจนมนต์เสน่ห์อันน่าใหลหลงของการตกปลาให้เราฟัง ติ่มซำ ติ่มซำที่เราเลือกแล้วไม่ได้ทานนั้นสามารถคืนได้ อย่าตกใจว่าจะต้องกินให้หมดหรือทางร้านเขาจะคิดเงินทั้งหมด สำหรับคนต่างพื้นที่อาจไม่คุ้นเคยกับรูปแบบนี้นัก แต่สำหรับคนที่นี่ก็ถือว่าเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ปฏิบัติกันมานานแล้วจึงทานกันได้อย่างสบายใจ ความสุขในการเที่ยวเกาะ… ความสุขในการเที่ยวเกาะของคุณ คืออะไร…คือการที่ตาได้มองเห็นน้ำทะเลใส ๆ เท้าได้เดินย่ำสัมผัสบนหาดทรายสีขาวละเอียด หรือ หูได้ฟังเสียงเพลงที่บรรเลงผ่านเครื่องดนตรีนานาชนิดหรือเปล่า ถ้าเกาะแห่งหนึ่งไม่มีสิ่งที่ยกมาข้างต้น การเที่ยวเกาะของคุณยังจะมีความสุขอยู่ไหม… อุรักลาโว้ย หนึ่งวันกับวิถีการเก็บหอยติบ ?ตอนน้ำขึ้นจะมีนกชนิดหนึ่งร้อง ได้ยินเมื่อไหร่ก็จะรู้ว่าน้ำจะขึ้นแล้ว? ก็ไม่รู้ว่ามันเป็นนกอะไร แต่เป็นสัญญาณที่ชาวบ้านจะรู้กัน ใช่แต่ว่าเริ่มงานตามสัญญาณธรรมชาติ เสียงกริ่งเลิกงานก็เช่นกัน?
วัด-วัด ภูเก็ต, วัดในภูเก็ต, วัดฉลอง, วัดพระผุด
วัดฉลอง ภายในวัดฉลองมีกุฏิจำลองพ่อท่านสมเด็จเจ้า ภายในจะประดิษฐ์สถานหุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนของหลวงพ่อทั้ง 3 ท่าน คือ หลวงพ่อแช่ม, หลวงพ่อช่วง, หลวงพ่อเกลื้อม เป็นพระคู่วัดฉลองไว้ให้ประชาชนมาสักการะของพรจากหลวงพ่อทั้ง 3 ท่าน ซึ่งเป็นรูปหุ่นขึ้ผึ้งที่สวยงามมาก