พิธีกรรมต่าง ๆ ในงานประเพณีถือศีล กินผัก
พิธีปั้งเอี๋ย
ก่อนถึงวันเก้าโง้ย โช้ยอิก ตามปฏิทินจีน ประมาณ 10-15 วัน ฮวดกั้ว (เจ้าหน้าที่ผู้ประกอบพิธีกรรม) จะกำหนดวันทำพิธี ปั้งเอี๋ย หรือการปล่อยทหาร ขึ้นภายในบริเวณ ศาลเจ้าฯเพื่อให้มาตรวจตราดูแล และรักษาการ ภายในบริเวณศาลเจ้าฯซึ่งจะมีทหาร ด้วยกันจำนวน 5 กอง หรือกองทหารประจำ 5 ทิศ อันได้แก่
1 ทหารประจำทิศตะวันออก เรียกว่า ตั้งเอี๋ย 99,000 นาย
2 ทหารประจำทิศใต้ เรียกว่า ล่ำเอี๋ย 88,000 นาย
3 ทหารประจำทิศตะวันตก เรียกว่า ไส้เอี๋ย 66,000 นาย
4 ทหารประจำทิศเหนือ เรียกว่า ปั๊กเอี๋ย 55,000 นาย
5 ทหารประจำบริเวณกลางศาลเจ้า เรียกว่า จ่งเอี๋ย 33,000 นาย
พิธียกเสาโกเต้ง
การยกเสาโกเต้ง ไว้หน้าศาลเจ้านั้น เป็นการประกอบพิธีอัญเชิญ เจ้ายกฮ่องซ่งเต่ หรือพระอิศวร และกิ๋วอ๋องไต่เต่ หรือพระผู้ใหญ่ทั้งเก้า มาเป็นประธานในพิธี และจะนำตะเกียง 9 ดวง ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ ของการเริ่มพิธีไว้บนเสาโกเต้ง
ตลอดทั้ง 9 วันของประเพณีถือศีลกินผัก จะมีพิธีกรรมต่างๆ หลายกิจกรรมด้วยกัน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประเพณีได้เข้าร่วม เช่น พิธีบูชาพระในวันแรกของพิธีจะมีการบูชาพระด้วยเครื่องเซ่นต่งๆ ทั้งศาลเจ้า และตามบ้านของผู้กินผัก เมื่อกินผักได้ครบ 3 วัน ถือว่าผู้นั้นสะอาด บริสุทธิ์ หรือที่เรียกว่าเช้ง พิธีโขกุ้น เป็นพิธีการเลี้ยงทหารซึ่งจะทำพิธีในวันที่ 3 วันที่ 6 และวันที่ 9 พิธีเหลี่ยมเก้ง เป็นการสวดมนต์ตั้งแต่เมื่อกิ๊วฮ๋องไต่เต้เข้าประทับในอ๊ามหรือศาลเจ้า พิธีอัญเชิญลำเต้า-ปักเต้า หรือเทวดาผู้กำหนดเวลาเกิดเวลาตาย พีธีอาบน้ำมัน ขึ้นบันไดมีด พิธีลุยไฟ พิธีสะเดาะเคราะห์ การทรงพระซึ่งเป็นการเชิญเจ้ามาประทับ ในร่างของม้าทรง และแสดงอิทธิฤทธิ์ ด้วยการทรมานร่างกาย ในรูปแบบต่างๆ เพื่อรับทุกข์แทนผู้ถือศีลกินผัก และเพื่อความเป็นสิริมงคล ส่วนกิจกรรมที่สำคัญ และได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว และคนทั่วไป คือพิธีแห่พระรอบเมืองศาลเจ้าต่าง ๆ และพิธีส่งพระในคืนสุดท้ายของประเพณีถือศีลกินผัก
ก่อนถึงวันเก้าโง้ย โช้ยอิก ตามปฏิทินจีน จะมีการทำความสะอาดศาลเจ้า ทั้ง บริเวณต่อจากนั้นในช่วงบ่าย ฮวดกั้ว (ผู้ประกอบพิธี) จะรับคำสั่งนำเอาฤกษ์ยาม จากพระเพื่อเริ่ม ประกอบพิธี ยกเสาโกเต้ง สำหรับแขวนตะเกียงไฟ กิ้วอ๋องต่ายเต่ 9 ดวง เพื่อเป็น การประกาศการ เริ่มพิธีถือศีล กินผัก (กินเจ) อย่างเป็นทางการ
ซึ่งในวันดังกล่าวจะมีบรรดาประชาชน และ ผู้มีจิตศรัทธา จะมาช่วยกัน อัญเชิญ เสาโกเต้ง เพื่อป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง และครอบครัว เป็นจำนวนมาก และมีความเชื่อ ว่าผู้ที่ได้เข้ามา ร่วมในพิธี ดังกล่าว จะถือว่าได้เป็นผู้ร่วมพิธีกินผัก อย่าง สมบูรณ์
พิธีอัญเชิญพระผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า และ ยกอ๋องส่องเต่
ในวันก่อนที่จะถึงวันเก้าโง้ย โช้ยอิก ตามปฏิทินจีน ในตอนกลางคืน ฮวดกั้ว ผู้ ประกอบพิธีฯ จะทำพิธีอัญเชิญ องค์กิ้วอ๋องต่ายเต่ 9 พระองค์ เพื่อมาเป็นประธาน ในการจัดงาน ถือศีล กินผัก และองค์ยกอ๋องส่องเต่ เหล่งก้วนต่ายเต่ และ หน่ำเต้าแชกุน ซึ่ง เป็นพระผู้ถือบัญชีเกิด และ ปักเต้าแชกุน ซึ่งเป็นพระผู้ถือบัญชีตาย มาร่วมในงานพิธี ตลอด 9 วัน 9 คืน และเมื่อทำ การเชิญเสร็จเรียบร้อย ตะเกียงไฟศักดิ์สิทธิ์ 9 ดวงก็จะถูกนำขึ้นไปสู่ยอดเสาโก เต้งโดยตลอดงาน จะต้องมีคนคอยดูแล และ ห้ามมิให้ตะเกียงดวงหนึ่งดวงใดดับไม่ได้เป็นอันขาด
พิธีโก้ยห่าน(ข้ามสะพานสะเดาะเคราะห์)
พิธีโก้ยห่านหรือการข้ามสะพานสะเดาะเคราะห์เป็นอีกหนึ่งพิธีที่มีความ สำคัญ และน่าสนใจมาก เพราะเป็นพิธีที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยผู้เข้าร่วม พิธีถือศีล กินผัก มีความเชื่อและความศรัทธาว่า หากจะให้การเข้าร่วมงานถือศีล กินผัก สมบูรณ์แบบ และครบถ้วน ก็ควรที่จะไม่พลาดที่จะต้องเข้าร่วมพิธีโก้ยห่าน โดยการข้ามสะพานสะเดาะเคราะห์ ผู้เข้าร่วมพิธีฯ จะต้องมี โต้ยซี้น หรือตุ๊กตาต่างตัวเขียนชื่อวันเดือน ปี เกิด แล้วเดินข้าม สะพาน ในขณะที่พระกำลัง ทำพิธีปัดเป่าให้สิ่งไม่ดี หรือ เคราะห์ร้ายให้หายไป เหลือไว้แต่สิ่งที่ดีๆ และ ได้รับสิ่งที่ดี ๆ มีความสุข มีโชคดี มีลาภ มีความสุข ตลอดปี และเมื่อก้าวย่างขึ้นสะพานภายใต้สะพานก็จะมี ตะเกียงไฟน้ำมัน ของดาวประจำวันเกิดจุดรออยู่ เพื่อคอยปัดเป่า และเผาผลาญสิ่งที่ไม่ดีภายในตัว ผู้เข้าร่วมพิธีฯให้ มอดไหม้ไป และเมื่อก้าวเดินลงจากสะพานก็จะถูกล้างตัวอีกครั้ง โดยไฟโก้ยเช้ง อิ๋ว ซึ่งเป็นไฟศักดิ์ สิทธิ์ หลังจากนั้นพระก็จะทำการเก็บตุ๊กตาต่างตัว และสิ่งไม่ดีทั้งหลาย นำไปทำ พิธีทิ้งในทะเลจึง เป็นอันเสร็จพิธีฯ
พิธีโข้กุ้น(เลี้ยงทหาร)
ทหารที่มารักษาบริเวณตั้งแต่ก่อนเริ่มงาน จนเข้างานตลอดเก้าวัน เก้าคืน จะ มี พิธีโข้กุ้น หรือการเลี้ยงทหารเพื่อเป็นการตอบแทน ซึ่งการเลี้ยงทหารนี้จะมี ขึ้นในช่วงวันที่ 3 วันที่ 6 วันที่ 9 ของการจัดงาน หรือที่เรียกกันว่า โช้ยซา โช้ยหลั๊ก โช้ยเก้า คือ วันสามค่ำจีน หกค่ำจีน เก้าค่ำจีน นั่นเอง ซึ่งพิธีนี้จะมีในช่วงบ่ายโดยมีฮวดกั้วเป็นผู้ ประกอบพิธีฯ
พิธีเตี้ยมง่าน(เปิดเนตรองค์พระ)
ในงานประเพณีถือศีล กินผัก ตลอดเก้าวัน เก้าคืน ฮวดกั้วผู้ประกอบพิธีฯจะเลือกหาฤกษ์ ยาม วันเวลา ที่ดีที่สุดเพื่อที่จะทำพิธีเตี้ยมง่าน หรือการเปิดเนตรองค์พระ ซึ่งจะมีผู้มีจิตศรัทธา นำกิ้มสิ้น(รูปองค์พระจีน) ที่ตนนับถือมาให้ฮวดกั้วทำพิธีเปิดเนตร เพื่อที่จะนำไปบูชาที่บ้านหลังจากเสร็จงานกินผักเพื่อกราบไหว้บูชา และให้คุ้มครอง ซึ่งพิธีฯ นี้ ถือว่าเป็นพิธีฯที่ศักดิ์สิทธิ์มากและหาผู้ที่จะทำได้ไม่ง่ายนัก
พิธีส่งพระกิ้วอ๋องต่ายเต่ และ ยกอ๋องส่องเต่
ในวันเก้าโง้ย โช้ยเก้า ตามปฏิทินจีน ในช่วงบ่ายจะมีพิธีส่งองค์ยกอ๋องส่อง เต่ ซึ่งพิธีจะทำที่ศาลเจ้าฯ ส่วนในช่วงค่ำหลังจากเสร็จสิ้นพิธีกรรมทุกอย่างแล้ว ใน เวลาเที่ยงคืนตรง ก็จะมีพิธีอัญเชิญองค์กิ้วอ๋องต่ายเต่ เสด็จกลับ หรือที่เรียกกันว่า การส่งพระ ซึ่งจะมีผู้มีจิตศรัทธา และผู้ที่ถือศีล กินผัก เข้าร่วมวบวนแห่จากศาลเจ้าฯไปยังริมทะเลเพื่อจะ ทำพิธีส่งท่านอย่างสมเกียรติ์ ซึ่งผู้เข้าร่วมพิธีมีความเชื่อกันว่าจะได้รับ แต่ความโชคดี มีโชค และ มีลาภ ครอบครัวจะมีความสุข จากบารมีขององค์กิ้วอ๋องต่ายเต่ ถ้าได้เข้าร่วมใน พิธีส่งพระดังกล่าว ซึ่งในวันดังกล่าวซึ่งเป็นวันสุดท้ายของงานจะมีประชาชนเข้าร่วมพิธีฯ นับหมื่น คน
ข้อควรปฏิบัติ 10 ประการในการถือศีล กินผัก
1. ผู้ที่อยู่ระหว่างการไว้ทุกข์ ไม่ควรเข้าร่วมถือศีล กินผักอย่างเด็ดขาด
2. ชำระร่างกายให้สะอาดตลอดช่วงงานประเพณี ถือศีล กินผัก
3. การแต่งกายควรสวมชุดขาวสุภาพ ตลอดช่วงงานประเพณีถือศีล กินผัก
4. ทำความสะอาดเครื่องครัว และแยกใช้กับผู้ที่ไม่ได้ถือศีล กินผัก
5. ประพฤฒิตนให้ดี และ สะอาด ทั้งกายและใจ ให้บริสุทธิ์
6. ห้ามบริโภค เนื้อสัตว์ และของคาว ทุกชนิด
7. ห้ามมีเพศสัมพันธ์ ในช่วงงานถือศีล กินผัก
8. ห้ามดื่มสุรา ยาสูบ และของมึนเมา ทุกชนิด
9. หญิงมีครรภ์ไม่ควรเข้าดูพิธีกรรมใดๆ ในระหว่างงานประเพณีถือศีล กินผัก
10. หญิงมีรอบเดือน ไม่ควรร่วมพิธีกรรมใด ๆ ในช่วงงานประเพณี ถือศีล กินผัก
เรื่องอื่น ๆ
สวัสดีครับ/ค่ะ! ผม/ดิฉันเป็นหมอที่เชี่ยวชาญในด้านการแพทย์ครับ/ค่ะ ประสบการณ์ของผม/ดิฉันเกี่ยวข้องอย่างแน่นหนากับความตั้งใจในการช่วยเหลือคน และผม/ดิฉันได้ค้นพบทางที่จะใช้พรสวรรค์ทางภาษาของผม/ดิฉันในการทำเช่นนั้น ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของผม/ดิฉันได้เปิดโอกาสให้ผม/ดิฉันไม่เพียงแต่ทำงานกับผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังแบ่งปันความรู้และข้อมูลผ่านการเขียนบทความข่าวสาร
ผม/ดิฉันชื่อ Ananda Niran (อนันดา นิรันดร์) และการเดินทางในวงการแพทย์ของผม/ดิฉันเริ่มต้นมานานแล้ว ผม/ดิฉันได้รับการศึกษาที่มหิดลศาสตร์ และตั้งใจที่จะให้ความสุขและความเจริญสบายในสุขภาพกับผู้ป่วย ประสบการณ์การทำงานของผม/ดิฉันรวมถึงการปฏิบัติงานในหลากหลายสถานบริการทางการแพทย์ ที่นั่นผม/ดิฉันมีหน้าที่วินิจฉัย รักษา และดูแลผู้ป่วยที่มีโรคหลากหลาย
อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป ผม/ดิฉันเข้าใจว่าสิ่งสำคัญไม่ได้เพียงแค่การช่วยเหลือผู้ป่วยแต่เพิ่มเติมด้วยการกระจายข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับกลุ่มคนใหญ่ ในโลกที่มีข้อมูลทางการแพทย์มากมาย ผม/ดิฉันตัดสินใจที่จะเข้าร่วมมีส่วนร่วมโดยใช้ความรู้และทักษะทางภาษาของผม/ดิฉัน จึงเริ่มเขียนบทความข่าวสารเกี่ยวกับความก้าวหน้าล่าสุดในการแพทย์ โรคต่าง ๆ การป้องกัน และรูปแบบการดำเนินชีวิต
ความหลงไหลในการเขียนช่วยให้ผม/ดิฉันสามารถอธิบายคำศัพท์และความคิดทางการแพทย์ที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายและเข้าถึงได้สำหรับทุกคน ผม/ดิฉันพยายามให้ความสำคัญและรับผิดชอบต่อทุกบทความ เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีประโยชน์ ที่สามารถช่วยเหลือคนในการดูแลสุขภาพของตน
พลังประสิทธิ์ของผม/ดิฉันคือที่ทำให้ข้อมูลทางการแพทย์เข้าใจง่ายและเข้าถึงได้ นอกจากนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนใส่ใจกับความเจริญสุขของตนเอง บทความข่าวสารทุกเรื่องเป็นโอกาสที่จะแบ่งปันความรู้และช่วยเหลือคนที่กำลังมองหาข้อมูลทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้ นี่คือเสถียรภาพของผม/ดิฉัน และผม/ดิฉันภาคภูมิใจที่สามารถให้ความช่วยเหลือและแรงบันดาล
ใจในโลกของสายการแพทย์นี้ได้