ตามที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในประเทศเม็กซิโก อเมริกาและแพร่กระจายไปหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย และเนื่องจากจ.ภูเก็ต เป็นจังหวัดที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ดังกล่าว เพราะมีนักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆ หลายประเทศรวมทั้งนักท่องเที่ยวจากประเทศที่มีการระบาดของโรคเดินทางมาท่องเที่ยว ดังนั้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ฯ ในจังหวัดภูเก็ตและเพื่อให้ชาวภูเก็ตร่วมตระหนักแต่ไม่ตื่นตระหนก เราจึงควรทราบวิธีการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และการดูแลตนเองในเบื้องต้นด้วย
โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นโรคที่แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน พบที่ประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกาและแพร่ไปอีกหลายประเทศ
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ เอช 1 เอ็น 1 (A/H1N1) เป็นเชื้อตัวใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมระหว่างเชื้อไข้หวัดใหญ่ของคน หมู และนก เชื้อนี้สามารถถูกทำลา ยด้วยความร้อนจากการปรุงอาหารที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป
การแพร่ติดต่อ
คนส่วนใหญ่ติดโรคนี้จากการถูกผู้ป่วยไอจามรดโดยตรง เนื่องจากมีเชื้อไวรัสอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แต่บางรายอาจติดเชื้อทางอ้อมผ่านมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา และปาก ไม่ติดต่อจากการกินเนื้อหมู
อาการป่วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการหลังได้รับเชื้อไวรัส 1-3 วัน บางรายอาจนานถึง 7 วัน อาการจะใกล้เคียงกับอาการไข้หวัดใหญ่ที่พบปกติ เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ อาจมีอาเจียน ท้องเสีย ถ้าอาการไม่รุนแรงส่วนใหญ่หายป่วยโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล หากรุนแรงจะมีอาการหอบ เหนื่อย ไอมาก เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก และเสียชีวิตเนื่องจากมีอาการของปอดอักเสบรุนแรง
การรักษา
ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ สำหรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ใช้ในปัจจุบัน ไม่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดนี้ได้ ผู้ป่วยที่อาการไม่มาก เช่น มีไข้ต่ำๆ ตัวไม่ร้อนจัด และยังรับประทานได้ ให้ดูแลรักษาตัวที่บ้าน โดย
1. รับประทานยา รักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้พาราเซตามอล 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง หรือสมุนไพรฟ้าทะลายโจร 4 เม็ด วันละ 3 ครั้ง จะทำให้อาเจียน เจ็บคอ และไข้ลดลง ควบคู่กับการเช็ดตัว ลดไข้เป็นระยะด้วยน้ำสะอาดไม่เย็น
2. ดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำผลไม่มากๆ งดดื่มน้ำเย็น
3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ผัก ผลไม้ เป็นต้น
4. พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี
5. สวมหน้ากากอนามัยไว้ตลอดเวลา เพราะหากมีอาการไอ จาม จะได้ไม่แพร่เชื้อ
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที แพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือ ยาโอลเซลตามิเวียร์
การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อและการเตรียมตัวรับสถานการณ์
1. เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ ดื่มน้ำสะอาด และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
2. หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัส ตา ปาก จมูก
3. หมั่นล้างมือบ่อยๆ การล้างมือที่ถูกสุขลักษณะให้ล้างด้วยสบู่หรือน้ำยาล้างมือและล้างนานๆ อย่างน้อย 20 วินาที กรณีที่มือไม่เปื้อนอาจใช้เจลล้างมือที่ผสมแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 60% ขึ้นไป
4. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ และการเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาด พื้นที่เสี่ยงหรือแออัด เช่น ศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ เป็นต้น
5. หากต้องดูแลผู้ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัย และให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัยด้วย หลังดูแลผู้ป่วยทุกครั้ง ควรรีบล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดทันที
6. ถ้ามีอาการไอ หรือจาม ให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษชำระปิดปากและจมูก หลังจากนั้นให้ล้างมือทันที กรณีไม่มีผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษชำระ ให้ไอหรือจามใส่แขนเสื้อ
7. ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ฯลฯ ร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
8. สำรองสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น เช่น น้ำ ข้าวสาร อาหารแห้ง ยา ฯลฯ ให้เพียงพออย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพราะหากมีอาการจะต้องหยุดงานและพักรักษาตัวที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ ควรขอยาจากหมอมาเผื่อไว้ อย่างน้อย 2-3 เดือน เพื่อหลีกเลี่ยงการไปโรงพยาบาลบ่อยๆ
9.หากพบว่าตนเองมีอาการป่วยและมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเท ศที่มีการระบาด ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาทันที
***หากมีคำถามให้ปรึกษาที่
– สถานีอนามัย
– โรงพยาบาลทุกแห่งทั้งรัฐและเอกชน ,
– สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต โทรศัพท์ 076-211330 ต่อ 305-306
– Call Center กระทรวงสาธารณสุข 02-5901994 หรือโทร 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต
สวัสดีครับ/ค่ะ! ผม/ดิฉันเป็นหมอที่เชี่ยวชาญในด้านการแพทย์ครับ/ค่ะ ประสบการณ์ของผม/ดิฉันเกี่ยวข้องอย่างแน่นหนากับความตั้งใจในการช่วยเหลือคน และผม/ดิฉันได้ค้นพบทางที่จะใช้พรสวรรค์ทางภาษาของผม/ดิฉันในการทำเช่นนั้น ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของผม/ดิฉันได้เปิดโอกาสให้ผม/ดิฉันไม่เพียงแต่ทำงานกับผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังแบ่งปันความรู้และข้อมูลผ่านการเขียนบทความข่าวสาร
ผม/ดิฉันชื่อ Ananda Niran (อนันดา นิรันดร์) และการเดินทางในวงการแพทย์ของผม/ดิฉันเริ่มต้นมานานแล้ว ผม/ดิฉันได้รับการศึกษาที่มหิดลศาสตร์ และตั้งใจที่จะให้ความสุขและความเจริญสบายในสุขภาพกับผู้ป่วย ประสบการณ์การทำงานของผม/ดิฉันรวมถึงการปฏิบัติงานในหลากหลายสถานบริการทางการแพทย์ ที่นั่นผม/ดิฉันมีหน้าที่วินิจฉัย รักษา และดูแลผู้ป่วยที่มีโรคหลากหลาย
อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป ผม/ดิฉันเข้าใจว่าสิ่งสำคัญไม่ได้เพียงแค่การช่วยเหลือผู้ป่วยแต่เพิ่มเติมด้วยการกระจายข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับกลุ่มคนใหญ่ ในโลกที่มีข้อมูลทางการแพทย์มากมาย ผม/ดิฉันตัดสินใจที่จะเข้าร่วมมีส่วนร่วมโดยใช้ความรู้และทักษะทางภาษาของผม/ดิฉัน จึงเริ่มเขียนบทความข่าวสารเกี่ยวกับความก้าวหน้าล่าสุดในการแพทย์ โรคต่าง ๆ การป้องกัน และรูปแบบการดำเนินชีวิต
ความหลงไหลในการเขียนช่วยให้ผม/ดิฉันสามารถอธิบายคำศัพท์และความคิดทางการแพทย์ที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายและเข้าถึงได้สำหรับทุกคน ผม/ดิฉันพยายามให้ความสำคัญและรับผิดชอบต่อทุกบทความ เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีประโยชน์ ที่สามารถช่วยเหลือคนในการดูแลสุขภาพของตน
พลังประสิทธิ์ของผม/ดิฉันคือที่ทำให้ข้อมูลทางการแพทย์เข้าใจง่ายและเข้าถึงได้ นอกจากนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนใส่ใจกับความเจริญสุขของตนเอง บทความข่าวสารทุกเรื่องเป็นโอกาสที่จะแบ่งปันความรู้และช่วยเหลือคนที่กำลังมองหาข้อมูลทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้ นี่คือเสถียรภาพของผม/ดิฉัน และผม/ดิฉันภาคภูมิใจที่สามารถให้ความช่วยเหลือและแรงบันดาล
ใจในโลกของสายการแพทย์นี้ได้